หนี้ครัวเรือนไทย แตะ 83.88% สูงสุด ในรอบ 18 ปี

30 กันยายน 2563 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผย รายงานเรื่อง หนี้ครัวเรือน ไตรมาส 2 ปี 2563 ว่ามี อัตราเพิ่มขึ้น สูงถึง 83.8% ต่อ จีดีพี  ของประเทศไทย  หนี้ครัวเรือน หรือ เงินให้ก็ยืม ภาคครัวเรือน สูงขึ้น สวนทาง เศรษฐกิจ ที่กำลังติดลบ  เนื่องจาก วิกฤิต เศรษฐกิจ และวิกฤิต ไวรัสโควิด 19 ระบาด 

 


หนี้ครัวเรือน ที่เพิ่มขึ้น สูงสุด ในรอบ 18 ปี  นั้นแสดงให้เห็น 2 ประเด็นที่แตกต่างกัน 

1. ประชาชน บางกลุ่ม มีการก่อหนี้เพิ่มขึ้น 

  กลุ่มที่ 1 นึ้ นับเป็น กลุ่มทียังคงมีกำลังซ้อ รายได้ไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจ ในปัจจุบัน และยังคงมีความสามารถในการ ชำระหนี้   โดย มีการก่อหนี้ก้อนใหญ่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินเชื่อ ที่อยู่อาศัย สะท้อน จากสินเชื่อ บ้าน ปล่อยใหม่ที่เพิ่ม่ขึ้นราว 1.42 แสนล้านบาท ใน ไตรมาสที่ 2/2563 สูงกว่า ไตรมาส 1/2563 ที่ 1.38 แสนล้านบาท   ซึ่งเป็นช่วงที่ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ผลักดัน แคมเปญ ออกมาเพื่อจูงใจในการตัดสินใจ ของลูกค้า

 

2. ประชาชน บางกลุ่ม ประสบปัญหา สภาพคล่อง

 

กลุ่มนี้ เป็นกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบทั้งโดยตรงและโดยอ้อม จาก วิกฤติ ไวรัสระบาด ส่วนหนึ่ง สะท้อนผ่านข้อมูลลูกหนี้รายย่อย ที่รับความช่วยเหลือ จาก สถาบันการเงิน โดยเฉพาะมาตราการระยะแรก ที่มีการพักชำระหนี้ และลดภาระผ่อนต่อเดือน 


ซึ่งมี ลูกหนี้รายย่อยเข้าโครงการระยะแรก ถึง 11.5 ล้านบัญชี 33% ของลูกหนี้รายย่อยทั้งหมดคิดเป็นภาระหนี้ 3.8 ล้านล้านบาท 
และกลุ่มคน กลุ่มที่ 2 นี้ ยังก่อหนี้เพิ่มขึ้น เนื่องจากขาดสภาพคล่องทางการเงิน ทำให้จำเป็นต้อง สร้างหนี้เพิ่ม เพื่อการ่ดำรงชีวิต และ รองรับรายจ่าย เพื่อ บริโภค ประจำวัน ด้วยเช่นกัน


ทั้งนี้ ผลกระทบจากเศรษฐกิจทำ ให้ความสามารถในการชำระคืนหนี้ ของครัวเรือนหลายกลุ่มด้อยลง ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญ ที่ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง

 

ธปท จัดสินเชื่อ รวมหนี้ บัตรเครดิต ช่วย ลูกหนี้รายย่อย

How to พิชิตหนี้ บัตรเครดิต แบบชิล

เทคนิควิธีการปลดหนี้

สถานการณ์หนี้สินครัวเรือนไทย

เป็น “หนี้” อย่างไร? ให้ธุรกิจได้ประโยชน์และเติบโตได้

Money Banner

พื้นที่ โฆษณา