กรมธรรมประกันภัย ไซเบอร์ คุ้มครองอะไรบ้าง

กรมธรรมประกันภัย ไซเบอร์ คุ้มครองอะไรบ้าง

อาชญากรไซเบอร์ เป็น อาชญากรออนไลน์ ที่นับวันจะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น และ ประเทศ ในกลุ่มประเทศ อาเซียน ก็กำลังตกเป็นเป้าการโจมตี ของ กลุ่ม แฮคเกอร์ หรือ อาชญากรไซเบอร์ เหล่านี้ เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ธุรกิจประกันภัย จึงเล็งเห็นความสำคัญ และ ความเสี่ยง หรือ ความเสียหาย ที่เกิดจากการโจมตี หรือตกเป็นเป้าหมาย ของ อาชญากร ไซเบอร์

 

โดยมีการประเมินกันไว้ว่า ภัยคุกคามทางไซเบอร์ สร้างผลกระทบ ทางเศรษฐกิจ ต่อปี มากกว่า 2 แสนล้านบาท ทำให้ ผู้บริหารระดับสูงของ ผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่ และ รายเล็ก ต่าง ตระหนักถึง ความเสี่ยงที่มากขึ้น

 

100 บทความสาระ ประกันภัย ฟรี

 

ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งทีทำให้ ตลาด ประกันภัยไซเบอร์ มีการขยายตัวขึ้น

ธุรกิจประกันภัยหลายบริษัท จึงเริ่มขานรับ การ ออกกรมธรรมประกันภัยไซเบอร์ เพื่อ คุ้มครองความเสี่ยงภัย ของทั้ง ธุรกิจ ขนาดเล็ก และ ขนาดใหญ่

ความรุนแรง ของ ภัยคุกคามไซเบอร์ ในประเทศไทย

มีสถิติจาก ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย (ไทยเซิร์ต) ระหว่าง เดือน มกราคม - กรกฏาคม 2563 ที่ผ่านมา มี ภัยคุกคามไซเบอร์ แล้วจำนวน กว่า 1,626 ครั้ง ขณะที่ปี 2562 ที่ผ่านมา มี จำนวนภัยคุกคามไซเบอร์ กว่า 2,470 ครั้ง

นับวันจะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น

สถิต ภัยคุกคาม ไซเบอร์ ปี 2563 ระหว่าง มกราคม - กรกฏาคม 2563

1. Malicious Code โปรแกรมไม่พึงประสงค์ 553 ครั้งง
2. Vuvnerabillity การโจมตี ช่องโหว่ 374 ครั้ง
3 Fraud การฉ้อฉล ฉ้อโกง หรือ หลอกลง : 368 ครั้ง
4. Intrustion การบุกรุก เจาะระบบได้สำเร็จ 100 ครั้ง
5. การโจมตี สภาพความพร้อม ในการใช้งาน ของระบบ 97 ครั้ง

สถิติ ภัยคุกคาม ไซเบอร์ ในปี 2562 เกิดขึ้น 2,470 ครั้ง

1. Fraud การฉ้อฉล ฉ้อโกง หรือ หลอกลวง 912 ครั้ง
2. Intrustion Attempts พยายามบุกรุกเข้าระบบ 467 ครั้ง
3. Malicious Code โปรแกรมไม่พึงประสงค์ 436 ครั้ง
4. Intrusions การบุกรุกหรือ เจาะระบบ ได้สำเร็จ 218 ครั้ง
5. Information Security : การเข้าถึงหรือ เปลี่ยนแปลงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต 165 ครั้ง

สำนักข่าว ฐานเศรษฐกิจ ได้รายงานบทสัมภาษณ์ ของผู้บริหาร บริษัทประกันภัย เกี่ยวกับ เรื่อง กรมธรรมปรกันภัยไซเบอร์ ไว้ดังนี้

กรมธรรมภัยคุกคามไซเบอร์

 

ทิพย์ประกันภัย

 

มีการออกกรมธรรม ภัยคุกคามไซเบอร์ สำหรับองค์กรณ์ ทั้งขนาดใหญ๋และเล็ก ที่มีการคุ้มครองการ บุกรุกระบบ การทำธุรกิจ เกิดความเสียหาย หรือ หยุดชะงัก หรือ การเรียค่าไถ่ (Ransome Ware)

ประกันภัยไซเบอร์ สำหรับบุคคลทั่วไป ให้ความคุ้มครองการใช้งาน โทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน หรือ ดีไวซ์ เช่น การคุ้มครองซื้อขายสินค้า ออนไลน์

 

MSIG

 

มีกรมธรรม์ประกันภัย ความเสี่ยงภัยไซเบอร์ ซึ่งจะเข้ามาบรรเทาค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น หลังจากผู้เอาประกันภัยโดน คุกคาม หรือ โจมตี

และทางบริษัท ยังมี บริการให้คำปรึกษา วิธี รับมือ จาก ภัยคุกคามทางไซเบอร์ ให้กับผู้เอาประกันภัยตลอด 24 ชั่วโมงทั่วโลก

โดยกรมธรรมไซเบอร์ ของ MSIG จะเหมาะกับ ธุรกิจ ทุกขนาด ตั้งแต่ SME ไปจนถึง องค์กรณ์ขนาดใหญ่ ซึ่ง มีจุดเด่น ในเรื่องค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น หลังถูกโจมตี ระบบ โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน

 

1. ความเสียหายต่อผู้เอาประกันภัย เช่น

 

- ค่าใช้จ่ายที่ต้องดำเนิน การตรวจสอบหรือสอบสวนเหตุการณ์
- ค่าใช้จ่าย ในการกอบกู้ข้อมูล
- ค่าใช้จ่ายในการจัดจ้าง PR เพื่อแถลงความเสียหาย หรือ แจ้งแก่สารธารณะ
- ค่าใช้จ่ายในการ ไถ่ถอนระบบคอมพิวเตอร์ จากการเรียกค่าไถ่
- ค่าปรับ จากการถูกลงโทษ โดยหน่วยงานที่กำกับดูแล

 

2. ความเสียหายต่อบุคคลภายนอก

 

- ค่าใช้จ่ายตามกฏหมาย ที่ผู้เอาประกันภัยต้องชดใช้ ต่อบุคคลภายนอก
- ค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี

 

 

โดย MSIG ได้ทำงานร่วมกันกับ CAT หรือ กสท โทรคมนาคม ซึ่งคาดว่าจะมี ลูกค้าเข้าร่วมโครงการทำประกันภัยไซเบอร์ 2,000 รา และเบี้ยประกันภัยอยู่ที่ 100 ล้านบาท

รวมประกันภัยแปลก ที่ บุคคลธรรมดาอย่างเราๆต้องมี

 

ประกันภัยสำหรับ สัตว์เลี้ยง หมา แมว เราก็มีนะ

 

เทียบเบี้ยประกันไวรัสโคโรนา Covid 19

รวมประกันลูกกตัญญู เพื่อคนที่อยู่ข้างหลัง

ประกันมอเตอร์ไซด์ วิ่งส่งของ Delivery ประกัน 2+ จาก Asia ประกันภัย

ประกันไข้เลือดออก ไวรัสซิการ์ และประกันโรคร้ายจากยุง

ประกันอุบัตเหตุ สำหรับแรงงานต่างด้าว เบี้ย 850/ปี โดย นำสินประกันภัย

ประกันอุบัติเหตุห่วงใย แรงงานต่างชาติ จากกรุงเทพประกันภัย 850 บาท

Money Banner

พื้นที่ โฆษณา