ถาม ตอบ กรณีหยุดกิจการ ชั่วคราว เนื่องจาก โควิด 19 นายจ้าง ต้องจ่าย ค่าจ้างไหม

ถาม ตอบ กรณีหยุดกิจการ ชั่วคราว เนื่องจาก โควิด 19

รวมประเด็น ถาม ตอบ ข้อสงสัย เมื่อ นายจ้าง สั่งให้ลูกจ้าง หยุดงานเป็นการชั่วคราว ด้วยเหตุ จากการระบาด ของโควิด 19 ทั้ง ตามคำสั่งของรัฐ และ ตามสภาพเศรษกิจ แบบนี้ นายจ้าง มีสิทธ์ไม่จ่าย เงินเดือน ลูกจ้างได้หรือไม่

 

ถาม-ตอบ กรณีหยุดกิจการชั่วคราวจากสถานการณ์ COVID-19

1.กรณี นายจ้าง ถูกสั่งปิด กิจการ ชั่วคราว 

 

กรณี ผู้ราชการจังหวัด หรือ หน่วยงานราชการ สั่งให้ นายจ้างปิดสถานที่ หรือ หยุดกิจการเป็นการชั่วคราว นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างลูกจ้างหรือไม่

 

คำตอบ  กรณีผู้ว่าราชการ กรุงเทพฯ  หรือ ผู้ว่าราชการจังหวัด ต่างๆ  มีคำสั่งปิด สถานที่ / สถานประกอบกิจการเป็นการชั่วคราว ตามกฏหมาย โรคติดต่อ โดยไม่ได้เกิดจากความผิด ของ นายจ้าง หรือ ลูกจ้าง ถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัย ลูกจ้าง จะมีสิทธ์ได้รับ เงิน ทดแทนกรณีว่างงาน จากประกันสังคม 50% ของรายได้ 

 

2. กรณี ลูกจ้างถูกกักตัว 14 วัน

 

กรณี ลูกจ้าง ไม่ได้มาทำงาน หรือนายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงาน ตั้งกักตัว หรือ เฝ้าระวัง การแพร่ระบาดของโรค ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ นายจ้าง ต้องจ่าย ค่าจ้างให้ลูกจ้างหรือไม่

 

คำตอบ ถือเป็นเหตุสุดวิสัย นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้าง แต่ ลูกจ้างให้ไป เบิก เงินค่าจ้าง 50% จาก  ประกันสังคม 

 

 3  นายจ้าง ขอใช้สิทธิ์ หยุดกิจการชั่วคราว มาตรา 75

 

กรณีการแพ่ระบาดของโควิด-19 ทำให้นายจ้างได้รับผลกระทบ ในการ ประกอบกิจการ นายจ้าง สามารถใช้สิทธิ์ หยุดกิจการ ทั่งหมด หรือ บางส่วนเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา 75 แห่ง พรบ คุ้มครองแรงงาน พศ 2541 ได้หรือไม่3 กรณีการแพ่ระบาดของโควิด-19 ทำให้นายจ้างได้รับผลกระทบ ในการ ประกอบกิจการ นายจ้าง สามารถใช้สิทธิ์ หยุดกิจการ ทั่งหมด หรือ บางส่วนเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา 75 แห่ง พรบ คุ้มครองแรงงาน พศ 2541 ได้หรือไม่

คำตอบ  

สถานประกอบกิจการ ที่ได้รับ ผลกระทบ จากสถานการณ์การแพร่ ระบาดของโควิด 19 เช่น มีรายได้ หรือ ลูกค้า ลดลง หรือ ต้องปิดสถานประกอบกิจการ ชั่วคราว เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 และมีคความจำเป็น ต้องหยุดกิจการ ทั้งหมด หรือ บางส่วน เป็นการ ชั่วคราว นายจ้าง อาจใช้สิทธ์ หยุดกิจการ ชั่วคราว ตามมาตรา 75 โดยจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่า ร้อยละ 75 ของค่าจ้างในวันทำงาน และ แจ้งการหยุด กิจการ ให้ลูกจ้าง และ พนักงาน ตรวจแรงงาน ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วันทำการ 

4.  นายจ้าง ต้อง แจ้ง พนักงานกรมสวัสดิ์ กรณ๊ ขอหยุดกิจการ ชั่วคราว 

กรณีนายจ้าง ปิด /หยุดกิจการ ทั้งหมดหรือ บางส่วน เป็นการชั่วคราว อันเนื่องมาจากเหตุสุดวิสัย นายจ้าง ต้องแจ้งพนักงาน ตรวจแรงงานล่วงหน้า ตามมาตรา 75 พรบ คุ้มครองแรงงาน พศ 2541 หรือไม่ 


คำตอบ  

ให้นายจ้าง แจ้งให้ลูกจ้าง และ พนักงาน ตรวจแรงงาน ทราบล่วงหน้า ไม่น้อย กว่า 3 วันทำการ โดยแจ้งผ่าน ทางเว็บไซด์ กรมสวัสดิการ และ คุ้มครองแรงงาน หรื อแจ้งเป็นหนังสือก็ได้ ในกรณ๊ที่นายจ้าง หยุดกิจการ ทั้งหมดหรือบางส่วน ขอ ให้นายจ้่างแจ้ง พนักงาน ตรวจแรงงาน ทราบโดยเร็ว

 

5.  นายจ้างหยุดกิจการชั่วคราว โดยไม่ใช่เหตุสุดวิสัย ลูกจ้างไปทำงานที่อื่นได้หรือไม่

 กรณี นาย จ้างหยุดกิจการ ทั้งหมด หรือ บางส่วน เป็นการชั่วคราว โดยอ้างว่า ความจำเป็น ซึ่งไม่ใช่เหตุ สุดวิสัย ตามมาตรา 75 พรบ คุ้มครองแรงงาน พศ 2541 ลูกจ้าง มีสิทธ์ไปทำงานให้กับ นายจ้าง รายอื่นได้หรือไม่

 

คำตอบ

ในระหว่างที่นายจ้าง หยุดกิจการ ทั้งหมด หรือ บางส่วน เป็นการชั่วคราว ตามมาตรา 75 ลูกจ้าง ยังมีสถานะเป็น ลูกจ้าง ของนายจ้างอยู่  แม้นายจ้าง ไม่ได้

มอบหมาย งาน ให้ลูกจ้าง ทำในระหว่าง หยุดกิจการ ชั่วคราว และ เงินที่นายจ้างจ่าย ให้แก่ลูกจ้าง ในระหว่างหยุดกิจการ ชั่วคราวจะมิใช่ ค่าจ้าง ก็ตาม ประกอบ กับ มาตรา 75 ก็มิได้ บัญญัติ ห้ามไม่ให้ ลูกจ้าง ไปทำงานให้แก่บุคคลอื่น ในระหว่างนั้น
ลูกจ้าง มีสิทธ์ไปทำงาน ให้กับ นายจ้างอื่นได้ แต่เมื่อ ครบกำหนด นายจ้่างเดิม หยุดกิจการ คือ กิจการกับมาทำงานปกติ หากลูกจ้างไม่กลับมาทำงาน ปกติ ภายใน 3 วันทำงาน ติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุผล อันสมควร นายจ้าง อาจเลิกจ้าง โดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้ 


 

เรื่องอื่นที่คุณอาจจะสนใจ

กรม สวัสดิฯ เปิดสอบ แข่งขันเพื่อบรรจุพนักงานราชการเฉพาะกิจ รวม 406 อัตรา

รวม 15 หลักสูตรเรียนออนไลน์ฟรี จาก ม.มหิดล เน้นพัฒนาทักษะอาชีพ

ลดเงินสมทบ ประกันสังคม มาตรา 40 อาชีพอิสระ เป็นเวลา 6 เดือน

 

 


6 นายจ้าง ลดวันทำงาน ลดค่าจ้าง ลูกจ้าง ได้หรือไม่  .

 

นายจ้างที่ได้รับ ผลกระทบ จากการแพร่ระบาดของโควิด 19 สามารถตกลง กับ ลูกจาง เพื่อเปลี่ยนแปลง สภาพการจ้าง เช่น ลดวัน ลดเวลาทำงาน ลดค่าจ้าง ของลูกจ้าง ได้หรือไม่ อย่างไร

 


คำตอบ   

หากนายจ้างมีความประสอง จะเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง เช่น ลดวัน เวลาทำงาน ลดค่าจ้าง ของลูกจ้าง นายจ้าง และ ลูกจ้าง จะต้อง ตกลงกันให้ชัดเจน เกี่ยวกับ การลดวัน เวลาทำงานหรือลดค่าจ้าง เช่น จากเดิม ให้ลูกจ้างทำงาน 5 วันต่อสัปดาห์ เป็นให้ ลูกจ้าง ทำงาน 4 หรือ 3 วัน ต่อสัปดาห์ และ จะมีการลดค่าจ้าง เป็นจำนวนเท่าใด โดยค่าจ้าง ที่ลดแล้ว ต้องไม่น้อยกว่า อัตราค่าจ้าง ขั้นต่ำ นอกจากนี้ การปรับ ลดวัน เวลาทำงาน แลค่าจ้าง ดังกล่าวจะต้องกำหนดระยะเวลาชัดเจน และ เหมาะสม เช่น 3 เดือน หรือ 4 เดือน เป็นต้น แล ะในระหว่าง การเปลี่ยนแปลง สภาพการ จ้างดังกล่าว นายจ้าง ควรลดรายจ่าย อย่างอื่น ที่ไม่จำเป็น หรือลดค่าจ้าง ของลูฏจ้าง ระดับ บริหารก่อน เพื่อให้ลูกจ้าง รายวัน หรือ ลูกจ้างที่มี่รายได้น้อย ได้รับ ผลกระทบ น้อยที่สุด 

7.  Work From Home นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างไหม 

กรณีนายจ้างให้ลูกจ้าง ทำงานที่บ้าน Work from Home เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ของโรคโควิด 19  นายจ้าง จะต้องจ่าย ค่าจ้าง ให้แก ลูกจ้างหรือไม่

คำตอบ  หากนายจ้าง ให้ลูกจ้าง ทำงานที่บ้าน หรือ สถานทีอื่น ตามที่ตกลงกัน กรณีเช่น นี้ นายจ้าง ต้องจ่าย ค่าจ้าง ให้แก่ลูกจ้าง ตามปกติ และ ควรวางระบบ การกำกับดูและ การตรวจสอบ การทำงานให้เหมาะสม เพื่อลด ปัญหา ความขัดแย้งในอนาคต 

 


8.  Leave with out pay  นายจ้าง สั่งให้ หยุดงาน โดยไม่จ่ายค่าจ้างได้หรือไม่

กรณี สถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ยังไม่ยุติ ทำให้นายจ้าง ไม่อาจจะจ่ายเงิน ร้อยละ 75 ของ ค่าจ้างในวันทำงาน ตามาตรา 75 แห่ง พรบ คุ้มครองแรงงาน 2541 หรือ นายจ้าง หยุดกิจการชั่วคราว เกินกว่า 90 วัน ตาม กฏกระทรวง ได้รับ ประโยชน์ทดแทน ในกรณ๊ว่างงาน เนื่องจากเหตุสุดวิสัย อันเกิด จากการระบาดของโรค ติดต่อ อันตราย ตามกฏหมายว่าด้วย โรคติดต่อ พศ. 2563 นายจ้าง สามารถตกลง กับ ลูกจ้าง ให้หยุดงาน ต่อไปโดยไม่ได้รับ ค่าจ้าง Leave Withoutpay ได้หรือไม่

 

คำตอบ

นายจ้าง-ลูกจ้าง สามารถตกลง กันหยุดงาน โดยไม่ได้รับค่าจ้าง ได้ Leave without pay แต่ในการตกลัง ดังกล่าว ควรกำหนด ระยะเวลา หยุดงานให้ชัดเจน เพื่อสร้างความมั่นใจ ให้ลูกจ้าง ว่าจะรับ การว่างจ้างต่อไป หากสถานการณ์ ดีขึ้น

9.  สิทธิ์ การลา คลอด ในขณะที่นายจ้างใช้สิทธิ์ การ หยุดกิจการชั่วคราว

ในระหว่างที่ นายจ้าง ใช้สิทธ์ หยุดกจิการทั้งหมด หรือบางส่วน เป็นการชั่วคราว ลูกจ้าง สามารถใช้สิทธิ์ ลาเพื่อคลอดบุตรได้หรือไม่ออย่างไร

คำตอบ ในระหว่าง ที่นายจ้าง ใช้สิทธ์ิ หยุดกิจการ ทั้งหมด หรือ บางส่วน เป็นการชั่วคราวนั้น ลูกจ้างไม่สามรารถใช้สิทธิ์ ลาคลอดบุตรได้ เนื่องจาก ช่วงดัง กล่าวลูก้าง ไม่ได้ทำงานให้แก่นายจ้าง จึงไม่มีวันทำงาน และวันลา ในช่วยระยะเวลา ดังกล่าว อย่างไร ก็ตาม หากกำหนดระยะเวลา ที่นายจ้าง ต้องหยุดกิจการ ทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว แล้ว ลูกจ้าง สามารถ ใช้ิสิทธิ ลาเพื่อคลอดบุตรได้ตามกฏหมาย กำหนดได้ และ การใช้สิทธิ การลาอื่นๆของลูกจ้าง จะเป็นลักษณะเดียวกัน 
อนึ่ง หากลูกจ้างใช้สิทธิ ลาเพื่อคลอดบุตร ก่อนที่นายจ้างจะหยุดกิจการชั่วคราว  แม้ช่วงการลดเพื่อคลอดบุตร จะคาบเกี่ยวกับ ช่วงที่นายจ้าง หยุดกิจการชั่วคราว ลูกจ้า ก็สามารถ ใช้สิทธิ์ลาเพื่อคลอดบุตรโดยได้รับค่าจ้างตามกฏหมายกำหนดได้

 

 

10.  ค่าแรง วันหยุด  ในกรณี นายจ้าง ใช้สิทธ์ หยุดกิจการชั่วคราว 

 

ในระหว่างที่นายจ้าง ใช้สิทธ์หยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วน เป็นการชั่วคราว นายจ้าง จะต้องจ่ายค่าจ้าง สำหรับ วันหยุด ประจำสัปดาห์ แล ะวันหยุดตามประเพณี ให้แก่ลูกจ้าง หรือไม่อย่างไร

คำตอบ   ระหว่างที่นายจั้าง ใช้สิทธิ์ หยุดกิจการทั้งหมดหรือ บางส่วน เป็นการ ชั่วคราว นั้น นายจ้าง ไม่ต้องจ่ายค่าจ้าง ในวันหยุด ประจำสัปดาห์ และ วันหยุดตมประเพณี ให้แก่ลูกจ้าง เนื่องจาก สิทธิ์ ได้รับค่าจ้าง สำหรับ วันหยุด ดังกล่าว จะเกิดขึ้น เมื่อลูกจ้าง มีการ ทำงานให้แก่นาย จ้าง แต่ในระหว่างที่นายจ้าง ใช้สิทธิ์ หยุดกิจการทั้งหมด หรือบางส่วน เป็นการชั่วคราว ลูกจ้างไม่ได้ทำงาน ให้แก่นายจ้าง 

 

11.  นายจ้าง หยุดกิจการชั่วคราว จนครบกำหนดแล้วไม่เปิดต่อ  จะเบี้ยวไม่จ่ายค่าชดเชยได้ไหม 

 

กรณีที่นายจ้าง ไม่ประกอบกิจการ ต่อไป และไม่จ่ายค่าจ้าง ให้แก่ลูกจ้าง เมื่อสิ้นสุด กำหนดระยะเวลา ที่นายจ้าง ใช้สิทธ์ หยุดกิจการทั้งหมด หรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว แล้ว หรือ กรณ๊ เมื่อพ้นระยะเวลา ตามคำสั่ง ผู้ว่าราชการจังหวัด ให้ปิดสถานที่ สถานประกอบกิจการ แล้ว ถือเป็นการเลิกจ้างหรือไม่

คำตอบ 

หากพ้น กำหนดระยะเวลา นายจ้างใช้สิทธิ์ หยุดกิจการทั้งหมด หรือ บางส่วน เป็นการชั่วคราวแล้ว หรือ เมื่อพ้น กำหนดระยะเวลา ตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัด สั่งปิด สถานประกอบการ แล้ว นายจ้าง ควรแจ้งให้ลูกจ้าง กลับเข้ามาทำงานตามปกติ หากนายจ้าง ไม่เปิดดำเนินกิจการต่อไป โดยไม่ให้ลูกจ้างทำงาน และไม่จ่ายค่าจ้างให้ อาจะถือว่า นายจ้าง มีเจตนา ที่จะเลิกจ้าง และ เป็นการ เลิกจ้าง โดย ที่ลูกจ้าง มิได้ กระทำความผิด นายจ้าง จะต้องจ่าย ค่าชดเชย แทนการบอกล่วงหน้า และค่าจ้าง สำหรับ วันหยุดพักผ่อน ประจำปี  ตาม พรบ คุ้มครองแรรงาน 2541

 

12.  กรณี ถูกลดเงินเดือน แล้ว ภายหลังถูกจ้าง ออก จะคิด ฐาน เงินเดือน อย่างไร

กรณีนายจ้าง ได้รับผลกระทบ จากการแพร่ระบาดโควิด 19 และ ได้ตกลงกับลูกจ้าง ขอปรับลดอัตราค่าจ้างลง ต่อมานายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง นายจ้างจะต้องจาย ค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง โดยใช้อัตราค่าจ้างสุดท้าย ก่อนปรับ ลด หรือ หลังปรับลด มาเป็นฐานในการคำนวณ 

 

คำตอบ   

การที่นายจ้าง ขอปรับ ลด อัตราค่าจ้าง เนื่องจากไรับ ผลกระทบ จากการแพร่ระบาด ของ โควิด 19 หากต่อมาภายหลัง นายจ้างเลิกจ้าง ลูกจ้าง นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชย ให้แก่ลูกจ้าง โดยใช้อัตราค่าจ้าง สุดท้าย ก่อนปรับลดค่าจ้างมาเป็นฐาน ในการคำนวณ ค่าชดเชย 


เช่น เดิม ลูกจ้่าง ได้รับ ค่าจ้่าง อัตราเดือนละ 20,000 บาท ได้ตกลง กับนายจ้าง โดยยินยอม ปรับลดค่าจ้่างเป็นอัตราเดือนละ 15,000 บาท ตั้งแต่เดือน เมษายน - มิถุนายน 2564  ต่อมาวันที่ 1 มิถุนายน 2564 นายจ้าง ได้เลิกจ้าง ลูกจ้าง ดังนั้น   นายจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชย ให้แก่ลูกจ้าง โดยนำอัตราค่าจ้าง สุดท้าย ก่อน ถูกปรับลด มาเป็นฐาน ในการคำนวณ ค่าชดเชย คือ 20,000 บาท เพราะวัตุประสงค์ ของการปรับลดค่าจ้าง นายจ้าง มีเจตนาต้องการลดค่าใช้จ่าย เป็นการชั่วคราว เพื่อให้สามารถประกอบกิจการต่อไปได้ มิได้มีเจตนา จะลดค่าจ้างแล้วเลิกจ้าง ลูกจ้าง เทียบเคียง แนวคำพิพากษา ศาลฏีกา ที่ 11920-11925/2553

 

 

 

 

 

 

 

Money Banner

พื้นที่ โฆษณา