เช็ค สั่่งจ่าย คืออะไร มีกี่ประเภท

เช็คมีกี่ประเภท

เช็คมีกี่ประเภท ? และเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการใช้เช็ค  เช็ค คือ เอกสารในรูปแบบหนึ่ง ที่ "ผู้สั่งจ่าย" กำหนดให้ "ธนาคาร" จ่ายเงินให้กับ "ผู้รับเงิน"

 


โดยปกติแล้ว เช็ค มักจะถูกใช้แทนการจ่ายเงินสด ในกรณีที่มีเงินจำนวนมาก (ไม่สามารถเบิกถอนเงินสดได้) หรือ จ่ายในกรณีต่าง ๆ ที่ต้องการหลักฐานการจ่ายที่ชัดเจน เพื่อให้สามารถตรวจสอบที่มาได้

ประเภทของเช็คมีอยู่หลายประเภท แต่ที่เจอกันบ่อย ๆ คือ

- เช็คของ​บุคคลธรรมดา หรือ เช็คของนิติบุคคล ตรงนี้จะมีลักษณะคล้ายกัน ขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นคนสั่งจ่าย
- แคชเชียร์เช็ค คือ เช็คที่ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่าย มีการระบุชื่อผู้รับเงินไว้ชัดเจน ในบางครั้งสามารถใช้แทนเงินสดได้ (เพราะผู้ซื้อจะต้องจ่ายเงินให้ธนาคาร รวมถึงค่าธรรมเนียม 20 บาท) โดยการขึ้นเงินจะไม่เสียค่าธรรมเนียม หากขึ้นในจังหวัดเดียวกันกับที่สั่งจ่าย
* โดยปกติมักจะนิยมใช้แคชเชียร์เช็คแทนการจ่ายเงินสดจำนวนมาก เพื่อความสะดวกและความปลอดภัยในการชำระเงิน
- เช็คของขวัญ เหมือนแคชเชียร์เช็ค แต่จุดประสงค์คือการให้เป็นของขวัญ
- ดราฟต์ จะแตกต่างกับ แคชเชียร์เช็ค หรือ เช็คของขวัญ ตรงที่ ผู้ซื้อดราฟต์ต้องเสียค่าธรรมเนียมการซื้อตามราคาบนหน้าดราฟต์ แต่ผู้รับเงินไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเมื่อนำไปขึ้นเงิน
---

การขีดคร่อมเช็คในการใช้งาน


มักใช้เพื่อระบุการจ่ายเงินให้ชัดเจน


เช็คขีดคร่อมทั่วไป - ผู้รับเงินต้องนำเช็คฝากเข้าบัญชีเท่านั้น โดยสามารถนำฝากเข้าบัญชีของธนาคารใดก็ได้ โดยรายละเอียดเพิ่มเติม คือ

​​​​​​- เช็คที่ระบุ “หรือผู้ถือ” = คนถือเช็ค (ผู้ทรงเช็ค) สามารถนำฝากเช็คนั้นเข้าบัญชีที่ธนาคารใดก็ได้
- เช็คที่ระบุ “หรือตามคำสั่ง” ต้องนำฝากเช็คเข้าบัญชีผู้รับเงินที่ระบุในเช็ค หรือ ต้องมีการเซ็นโอนสลักหลังเช็คหากต้องการฝากเข้าบัญชีผู้อื่น

อีกกรณี คือ กรณีที่ขีดคร่อมว่า AC Payee Only จะเป็นเช็คที่ต้องนำฝากเข้าบัญชีตามชื่อที่ระบุหน้าเช็คเท่านั้น ไม่สามารถโอนได้
---

เช็คกับการชำระภาษีให้กรมสรรพากร สำหรับการเช็คที่ชำระภาษีนั้น ต้องเป็นเช็ค 4 ประเภท ได้แก่

(1) เช็คธนาคารแห่งประเทศไทย (เช็คประเภท ก.)
(2) เช็คที่มีธนาคารค้ำประกัน (เช็คประเภท ข.)
(3) เช็คที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่าย (เช็คประเภท ค.)
(4) เช็คที่ผู้มีหน้าที่ชำระเงินภาษีอากรเป็นผู้เซ็นสั่งจ่าย และใช้ชำระโดยตรง (เช็คประเภท ง.)
โดยปกติเราจะใช้เช็คประเภท ง จ่ายภาษี

ซึ่งต้องมีการขีดคร่อม และสั่งจ่ายดังนี้
กรุงเทพมหานคร - กรณีชำระภาษีที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา เช็คทุกประเภทให้สั่งจ่ายแก่ “กรมสรรพากร” และขีดฆ่าคำว่า “ผู้ถือ” ออก
ต่างจังหวัด - กรณีชำระภาษีที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา เช็คทุกประเภทให้สั่งจ่ายแก่ “กรมสรรพากร” (ส่วนกรณีจ่ายเช็คประเภท ก. ข. ค. ให้ติดต่อสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา)
หลักการในการใช้เช็คจ่ายภาษี

(1) กรณียื่นที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา เช็คทุกประเภทหรือดราฟต์ ต้องลง วันที่ในเช็ค ในวันที่ยื่นแบบฯ หรือ ก่อนวันที่ที่ยื่นแบบฯ ไม่เกิน 15 วัน สำหรับเช็คประเภท ก. ข. ค. หรือดราฟต์ หรือไม่เกิน 7 วัน สำหรับเช็คประเภท ง.
(2) กรณียื่นที่ธนาคาร/ที่ทำการไปรษณีย์ เช็คทุกประเภท หรือดราฟต์ที่ชำระภาษี ต้องลงวันที่ในเช็คในวันที่ยื่นแบบฯ หรือก่อนวันที่ยื่นแบบฯ ไม่เกิน 7 วัน
(3) ห้ามใช้เช็คลงวันที่ล่วงหน้า
(4) ห้ามใช้เช็คหรือดราฟต์โอนสลักหลัง
(5) ห้ามใช้เช็คหรือดราฟต์ที่มีจำนวนเงินสูงกว่าจำนวนภาษีอากรที่ต้องชำระ
(6) การชำระภาษีจะถือว่าสมบูรณ์ ต่อเมื่อกรมสรรพากร ได้รับเงินตามเช็คหรือดราฟต์ครบถ้วนแล้ว

 

Credit  TaxBugnoms

 

 

Money Banner

พื้นที่ โฆษณา