ตรวจสอบ รายชื่อ แอปฯ เงินกู้ ถูกกฏหมาย

ตรวจสอบ รายชื่อ  แอปฯ เงินกู้ ถูกกฏหมาย

ทุกวันนี้ พวกเรา ทุกคน ต่างเดือดร้อน ดิ้นรน หาช่องทางกู้เงิน กันต่างๆ นานาๆ เปิดช่องให้ แอปฯ เงินกู้ เถื่อน เข้ามาหลอกลวง คนไทย เป็นจำนวนมา ทั้ง หลอกให้โอนเงินแล้วไม่มี เงินให้กู้จริง ทั้ง ปล่อยกู้ดอกเบี้ย แพงๆ 

 

ทุกวันนี้มิจฉาชีพระบาดอย่างหนัก โดยอาศัยช่วงที่ประชาชนมองหาแหล่งเงินกู้ แอบอ้างเป็นผู้ให้บริการเงินกู้แล้วหลอกลวงเงินจากประชาชน ผ่านช่องทางทั้ง SMS  ไลน์ เฟสบุ๊ก แอปเงินกู้ และโทรศัพท์ โดยใช้ข้อความชวนเชื่อว่า กู้ง่าย ได้เร็ว ดอกเบี้ยต่ำ ใช้เอกสารน้อย ไม่ต้องมีหลักประกัน ติดแบล็กลิสต์ก็กู้ได้ ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย โปรดสังเกตให้รู้เท่าทัน อย่าหลงเชื่อกลโกงของมิจฉาชีพ ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้ให้บริการเหล่านั้นได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจอย่างถูกต้อง และโทรติดต่อไปยังผู้ให้บริการที่ถูกอ้างชื่อถึง ก่อนตัดสินใจกู้เงิน 

 

ตรวจสอบได้ที่นี่ !! แหล่งเงินไหนได้รับอนุญาต ?   คลิก

 

สำหรับ รายชื่อ แอปฯ เงินกู้ ถูกกฏหมาย ได้รับการรับรอง จาก ธนาคารแห่งประเทศไทย ณ เดือนกันยายน 2564  มีดังนี้ 

 

โดยผู้เขียน คัดสรร เฉพาะ ผู้ให้กู้ ที่เปิดเป็น แอปฯ กู้เงิน ถูกต้องตามกฏหมาย คิดดอกเบี้ย ที่เหมาะสม ตามหลักเกณฑ์ ของ ธนาคารแห่งประเทศไทย 

Non Bank

  • เอเอเอ็ม จัดไฟแนนซ์ (AAM Finance)
  • ทรูมันนี่ วอลเล็ท (True Money Wallet)
  • My Star
  • Kleasing on mobile

 

 ยังมีผู้ให้บริการ อื่นๆ อีกมากมาย สามารถตรวจสอบได้ที่ คลิก

 

ช่องทางหลอกลวงและรูปแบบกลโกงให้กู้เงินของมิจฉาชีพ

 รู้ทัน ระวังภัย ไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ 
ปัจจุบันพบว่ามิจฉาชีพหลอกให้ประชาชนกู้เงินในหลากหลายรูปแบบ โดยมักจะส่งข้อความเชิญชวนหรือประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทาง SMS ไลน์ เฟสบุ๊ก เว็บไซต์ หรือโทรศัพท์มาหา โดยใช้ข้อความชวนเชื่อว่า กู้ง่าย ได้เร็ว ดอกเบี้ยต่ำ ใช้เอกสารน้อย ไม่ต้องมีหลักประกัน ติดแบล็กลิสต์ก็กู้ได้ หากเหยื่อหลงเชื่อก็จะให้สมัครผ่านแอปเงินกู้ หลังจากนั้นจะเริ่มขอเอกสารส่วนตัว เช่น สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน หน้าสมุดบัญชี แล้วหว่านล้อมหลอกให้เราโอนเงินค่าธรรมเนียม ค่ามัดจำต่าง ๆ หรือเงินค้ำประกันให้ก่อน จึงจะได้เงินกู้ตามจำนวนที่ต้องการ ซึ่งหากประชาชนหลงเชื่อแล้วอาจพบเจอกับสถานการณ์เหล่านี้

  • แจ้งว่าเหยื่อกรอกเลขที่บัญชีผิด ต้องโอนเงินค่าธรรมเนียมในการแก้ไขข้อมูลเพิ่ม 
  • หากเหยื่อเปลี่ยนใจไม่อยากกู้แล้ว ก็อ้างว่าไม่สามารถยกเลิกได้ ให้เดินทางไปติดต่อที่สำนักงานใหญ่ หรือ แบงก์ชาติ และข่มขู่ให้เหยื่อกลัว
  • หากเหยื่อเริ่มรู้ตัวว่าโดนหลอก มิจฉาชีพก็จะปิดการติดต่อโดยการบล็อกไลน์ทำให้ไม่สามารถติดต่อมิจฉาชีพได้อีก
สุดท้ายมิจฉาชีพหายเงียบไปพร้อมค่าธรรมเนียม รู้ตัวอีกทีก็โดนหลอกเสียแล้ว
 
 

เงินกู้นอกระบบ...จบไม่ค่อยสวย

 
อีกหนึ่งกลุ่มสินเชื่อหรือเงินกู้ที่แบงก์ชาติไม่ได้กำกับดูแล คือ เงินกู้นอกระบบ (หนี้ที่ผู้ให้กู้ไม่อยู่ในระบบสถาบันการเงิน) อีกหนึ่งภัยทางการเงินที่น่ากลัวเช่นกัน เพราะการกู้นอกระบบมักมีการเรียกเก็บดอกเบี้ยสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด (ตามกฎหมายคือ การเรียกเก็บดอกเบี้ยต้องไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี หรือร้อยละ 1.25 ต่อเดือน) และมักใช้วิธีทวงหนี้ที่ไม่เป็นธรรม เช่น ทวงหนี้ผ่านคนรู้จักทำให้ผู้กู้เกิดความอับอาย ข่มขู่ถึงแก่ชีวิต โดยมิจฉาชีพจะแฝงตัวมาในลักษณะปล่อยเงินกู้ผ่านระบบออนไลน์ เข้ามาขอเป็นเพื่อนผ่านทางเฟซบุ๊ก หรือ ประกาศในเว็บไซต์ต่างๆ เชิญชวนให้ใช้บริการ อ้างว่ากู้เงินได้เร็ว ไม่ต้องมีหลักประกัน จะเห็นว่าหนี้นอกระบบนั้นทั้งน่ากลัวและอันตราย นอกจากจะโดนเอาเปรียบให้เสียเงิน เสียบ้าน เสียรถ เสียชื่อเสียง เจ็บตัว หมดตัว หรือมีความเสี่ยงถึงชีวิต จึงไม่ควรเอาตัวไปยุ่งเกี่ยวอย่างเด็ดขาด
 
 

o ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น เมื่อกู้เงินกับ แอปฯ เงินกู้เถื่อน ผิดกฏหมาย

ด้วยช่องทางและรูปแบบการหลอกลวงของมิจฉาชีพที่หลากหลาย หากท่านได้รับข้อความกู้เงินด่วนไม่ว่าช่องทางใดก็ตาม อย่าหลงเชื่อลิงก์ที่แนบมาโดยไม่มีแหล่งที่มา และห้ามกดเปิดลิงก์หรือกรอกข้อความใดๆ อย่างเด็ดขาด จนกว่าจะตรวจสอบให้มั่นใจ เพราะอาจเกิดความเสียหายและผลกระทบอีกมากมายที่ตามมาได้ ไม่ว่าจะเป็น ...

1. ข้อมูลส่วนตัว...โดนขโมยไปแบบไม่รู้ตัว

 
มิจฉาชีพอาจแฮกข้อมูลส่วนตัวของท่านเพื่อแอบอ้างหรือสวมรอยใช้ในทางมิชอบ ซึ่งอาจทำให้ผู้กู้เกิดความเสียหายและเสียทรัพย์จำนวนมาก เช่น แอบอ้างนำข้อมูลไปเปิดบัญชี e-Wallet ปลอม ปลอมตัวเป็นคนรู้จักด้วยการแฮก LINE หรือ Facebook ขอความช่วยเหลือให้โอนเงินให้ เป็นต้น

2. เสียทรัพย์...แต่กลับไม่ได้เงินกู้

มิจฉาชีพมักกำหนดเงื่อนไขการได้รับเงินกู้ที่ไม่ชัดเจน โดยมิจฉาชีพจะอ้างตัวเป็นสถาบันการเงิน ธนาคาร บริษัทให้กู้เงิน หรือเป็นนายหน้าช่วยขอสินเชื่อ และมักจะหลอกประชาชนว่า จะได้รับเงินกู้วงเงินสูง อนุมัติไว ขั้นตอนน้อย แต่จะดำเนินการได้จะต้องโอนเงินค่ามัดจำ หรือเงินค้ำประกันให้ก่อน ท้ายสุดมิจฉาชีพเชิดเงินหนี ประชาชนผู้ถูกหลอกก็จะเสียทั้งทรัพย์และไม่ได้เงินกู้อย่างที่ตั้งใจไว้ 

3. น่ากลัวกว่าที่คิด...เพราะอาจอันตรายถึงชีวิต

 
หากมีการผิดนัดชำระหนี้ ลูกหนี้จะไม่สามารถประนอมหนี้ได้ และมิจฉาชีพมักข่มขู่จนอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้กู้

4. ดอกเบี้ยสุดโหด...จ่ายไม่หมดเสียที

 
เงินกู้นอกระบบมักมีอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมที่ไม่ชัดเจนขึ้นอยู่กับเจ้าหนี้กำหนด ซึ่งมักเป็นอัตราที่สูงมาก 
 
สิ่งที่ต้องทำ . . . เมื่อรู้ตัวว่าถูกหลอก
 
หากหลงเชื่อโอนเงินและตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพแล้ว ต้องทำอย่างไร ? 
  1. ตั้งสติ รวบรวมหลักฐานและข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ครบที่สุดเท่าที่มี 
  2. แจ้งความ นำหลักฐานทั้งหมดเข้าแจ้งความที่สถานีตำรวจในท้องที่เกิดเหตุ 
  3. ติดต่อธนาคาร หลังจากทำการแจ้งความดำเนินคดีแล้ว ให้ติดต่อธนาคารเพื่อแจ้งอายัดยอดเงินบัญชีของมิจฉาชีพ
โดยท่านสามารถดำเนินการและแจ้งเหตุ ตามช่องทางด้านล่างนี้

แจ้งความดำเนินคดี ณ สถานีตำรวจท้องที่เกิดเหตุ
แจ้งเบาะแสที่ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปอส.ตร.)
 
สายด่วน 1599 หรือ ส่งเรื่องร้องเรียนออนไลน์ได้ที่นี่ >> แจ้งเบาะแส ออนไลน์ 
กรณีเงินกู้นอกระบบ ติดต่อศูนย์รับแจ้งการเงินนอกระบบ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง 
สายด่วน 1359 หรือ ส่งเรื่องร้องเรียนออนไลน์ได้ที่นี่ >> ศูนย์รับแจ้งการเงินนอกระบบ
 
 
 

Money Banner

พื้นที่ โฆษณา