ระบบบำนาญ ของไทย แย่สุด ในโลก

ระบบบำนาญของไทย แย่สุด ในโลก

จัดอันดับ ระบบบำนาญ ทั่วโลก ปี 2020 มีการสำรวจเพียงแค่ 39 ประเทศทั่วโลก ไทยอยู่อันดับที่ 39 ของโลก  อยู่อันดับที่ 5 ของประเทศอาเซียน

 

เมอร์เซอร์ (Mercer) บริษัทที่ปรึกษาด้านทรัพยากรมนุษย์สัญชาติอเมริกัน ร่วมกับ ซีเอฟเอ (CFA Institute) สถาบันวิเคราะห์ด้านการเงินระดับโลก และ Monash Business School  แห่งมหาวิทยาลัยโมนาช (Monash University) ในออสเตรเลีย เผยรายงานดัชนีระบบบำนาญทั่วโลกประจำปี 2020 ที่ทำการสำรวจ ระบบรายได้ยามเกษียณของ 39 ประเทศ ซึ่งครอบคลุมประชากร 2 ใน 3 ของโลก ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคมที่ผ่านมา 

ระบบบำนาญ คืออะไร

คือระบบรายได้ ยามเกษียณ ของ ทุกคนว่าจะมีเงินเก็บ มีรายได้ต่อเนื่อง หลังจากที่ ต้องเกษียณ อายุ จากงานประจำที่ทำอยู่มาหลายปีได้อย่างไร   และ ระบบบำนาญนั้น ครอบคลุม เบี้ยยังชีพ ,ระบบประกันสังคม,กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ,Provident Fund : PVD และ กองทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพ RMF เป็นต้น

เกณท์ วิธีการวิเคราห์ะ ระบบบำนาญ เมอร์เซอร์  Mercer CFA Institute

1 ความเพียงพอ (adequacy) จะมุ่งตรวจสอบ ผลประโยชน์ที่ผู้เกษียณได้รับ / การออกแบบระบบบำนาญ / ระดับการออม / การเป็นเจ้าของบ้าน และ การเติบโตของสินทรัพย์ รวมถึงปัจจัยอื่นๆ เพื่อพิจารณาความสามารถในการจัดหารายได้หลังเกษียณว่าเพียงพอหรือไม่

  • มีระบบบบำนาญให้ผู้มีรายได้น้อย อย่างเหมาะสม ในระดับที่สมเหตุสมผล
  • อัตราทดแทนรายได้ อยู่ที่ 70% ของค่ากลางรายได้ก่อนเกษียณ
  • มีกระแสรายได้จากผลประโยชน์ยามเกษียณสะสม อย่างน้อย 60%

2 ความยั่งยืน (sustainability) ได้แก่ สินทรัพย์สุทธิ / ประชากรศาสตร์ / การใช้จ่ายของภาครัฐ / หนี้สาธารณะ / และ การเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นต้น

  • ประชากรวัยทำงาน อย่างน้อง 80% เป็นสมาชิก ระบบบำนาญเอกชน
  • สินทรัพย์ของ กองทุนบำนาญ มีสัดส่วนเกิน 100% ของ GDP
  • อัตรามีส่วนร่วมในกำลังแรงงานผู้สูงอายุ อย่างน้อย 80%

3  ความยึดมั่นในหลักการ (Integrity) จะคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ อย่างเช่น กฎระเบียบ / การกำกับดูแล  / ธรรมาภิบาล / การคุ้มครอง / การสื่อสาร และต้นทุนการดำเนินงาน

  • มีการตรวจตรา และ ควบคุมระบบบำนาญเอกชนอย่างเข้มงวด
  • มีการสื่อสาร เช่น การจัดทำรายงานประจำปี และ รายงาน คาดการณ์ รายได้ยามเกษียณ อย่างสม่ำเสมอ

หลักเกณฑ์ การคำนวณ คะแนน สำหรับ ระบบ บำนาญ ตามแนวคิดของ Mercer

  • ใช้หลักความพอเพียง 40%
  • ใช้หลักความยั่งยืน 35%
  • ใช้ความยึดมั่น Integrity 25%

เกณท์ วัดระดับ ระบบบำนาญ ของธนาคารโลก

ธนาคารโลก ใช้หลัก 5 เสาร์ ดังนี้

โดยเสาหลักที่ 0 หรือ สวัสดิการขั้นพื้นฐาน เป็นระบบการดูแลจากภาครัฐ ใช้เงินงบประมาณจากภาษีของประชาชน และผู้ที่ได้รับความคุ้มครองไม่ต้องมีส่วนร่วมในการออมเพื่อให้ได้รับสวัสดิการจากภาครัฐ ซึ่งสวัสดิการภายใต้เสาหลักนี้ประกอบด้วย ระบบบำนาจข้าราชการ และเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 

เสาหลักที่ 1 คือ หลักประกันทางสังคม ที่รัฐจัดให้แก่แรงงานในระบบ หรือการออมภาคบังคับสำหรับแรงงานในระบบ  คือ  กองทุนประกันสังคม มาตรา 33,39

เสาหลักที่ 2  เป็น การออมภาคบังคับ เพื่อให้แรงงานได้มีรายได้หลังเกษียณ เมื่อรวมกับ เสาหลักที่ 1 แล้ว อยู่ในระดับที่เพียงพอต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี ที่ ร้อยละ 50 – 60 ของเงินเดือนเดือนสุดท้าย ประกอบด้วย กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ(กบข.), กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน

เสาหลักที่ 3 เป็น การออมภาคสมัครใจ เพื่อให้ แรงงานที่มีความสามารถออมเงินและต้องการเพิ่มรายได้หลังเกษียณเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเพิ่มเติมจาก เสาหลัก 1 และเสาหลักที่ 2 โดยมีนโยบายการลงทุนที่เปิดโอกาสให้สมาชิกมีหลายทางเลือกในการลงทุน มีการกำหนดอัตราการจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุน บริหารจัดการลงทุนโดยภาคเอกชน ประกอบด้วย กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ประกัน  กองทุนประกันสังคมมาตรา 40 และกองทุนการออมแห่งชาติ(กอช.) 

เสาหลักที่ 4 คือ ระบบการใช้ทรัพย์สินอื่นมารองรับการใช้ชีวิตช่วงหลังเกษียณ รวมถึงการสนับสนุนในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการอื่นๆ เช่น การดูแลสุขภาพ ที่อยู่อาศัย และทรัพย์สินส่วนบุคคลอื่น ๆ  อาทิ บ้าน ซึ่งนํามาใช้ขอสินเชื่อสําหรับผู้สูงอายุ หรือที่เรียกว่า reverse mortgage ได้ 

ระบบบำนาญของไทย และอาเซียน

จากการจัดอันดับของ Mercer จาก 39 ประเทศทั่วโลก พบว่า สิงคโปร์ มีระบบบำนาญที่ดีที่สุด มีคะแนน 71.2 คะแนน อยู่อันดับ 7 ของโลก ทีเหลือตามตาราง

อันดับ

ประเทศ

คะแนน

7

สิงคโปร์

71.20

19

มาเลเซีย

60.10

30

อินโดนีเซีย

51.40

36

ฟิลิปปินส์

43.00

39

ไทย

40.80

ไทยรั้งอันดับบ๊วย จาก 39 ประเทศที่มีการสำรวจ มีคะแนนแย่ที่สุด 40.8 คะแนน แต่ก็มีการเพิ่มขึ้น จาก 39.40 เมือปี 2019เมื่อแยกตาก 3 หลักเกณฑ์ ของ Mercer ในแต่ละด้าน พบว่า

  1. ความพอเพียง ไทยได้คะแนนะ 36.80 คะแนน
  2. ความยั่งยืน ได้ 40.8 คะแนน
  3. ด้านความยึดมั่นในหลักการ อยู่ที่ 47.30 คะแนน

ปัจจุบัน คนไทยที่อยู่ใน ระบบประกันสังคม จะได้รับเงินบำนาญชราภาพ สูงสุดเดือนละ 6,375 บาท (กรณีส่งเงินสมทบ เกิน 30 ปี) เนื่องจากเงินชราภาพกำหนดเพดานเงินนำส่งอยู่ที่ 3% ของฐานเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท หมายความว่า หากผู้ประกันตนจะจ่ายเงินสมทบในอัตราสูงสุดที่ 750 บาทต่อเดือนเท่านั้น  ทำให้บำนาญขั้นต่ำของไทยไม่มีการปรับเพิ่มขึ้น  ทั้งที่เงินเดือนที่ได้รับอาจสูงกว่า 15,000 บาท

ระบบบำนาญของไทย มีวงเงินรวมกว่า 3.85 ล้านล้านบาท  หากเมื่อเทียบกับมูลค่าจีดีพีของไทย 16.7 ล้านล้านบาท (ปี2562)  ถือว่าความพอเพียงต่ำมาก ถ้าเทียบกับที่ Mercer CFA แนะนำว่าควรจะมีมูลค่าสินทรัพย์ของระบบบำนาญเกินกว่า 100% ของจีดีพี   

อย่างไรก็ดี Mercer CFA  แนะนำให้ประเทศไทยยกระดับระบบบำนาญทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น การเพิ่มความคุ้มครอง การยกระดับการสนับสนุนขั้นต่ำให้แก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้ต่ำ  เพิ่มข้อกำหนดสำหรับระบบบำนาญของเอกชน 

ซึ่งประเด็นดังกล่าวนั้น ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเข้าใจถึงปัญหาและข้อจำกัด ขณะนี้กำลังอยู่ในการศึกษาและพิจารณาปรับหลักเกณฑ์ให้เหมาะสมมากขึ้นโดยเฉพาะทั้งด้านความพอเพียง ความครอบคลุม และความยั่งยืน 

ระบบบำนาญทั่วโลกได้รับผลกระทบจากโควิด 19

  1. ผลทำให้การว่างงานเพิ่มขึ้น
  2. ระดับรายได้ลดลง
  3. อัตราดอกเบี้ย นโยบาย ในระดับต่ำ
  4. การลดเงินปันผลของบริษัทต่างๆ
  5. นักลงทุนถือเงินสดมากขึ้น
  6. หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น

ทำให้มูลค่าสินทรัพย์กองทุนบำนาญลดลงในปี 2020

เครดิต ข้อมูล news TrueId

 

ประกันบำนาญ ลดหย่อนภาษี

 


สร้างบำนาญ ให้ตัวเอง ไม่จำเป็นต้อง ง้อ ระบบสวัสดิการของรัฐ  เริ่มต้นออมเงินวันนี้ ถึงอายุเป้าหมายที่คุณ เกษียณ มีเงินรายงวด ให้คุณ ต่อเนื่องสนใจ ทัก

สนใจ ติดต่อ ธงชัย ผจก ที่ปรึกษาความมั่นคง

 

 

Money Banner

พื้นที่ โฆษณา