ข้อกฏหมาย ว่าด้วยการ เลิกจ้าง พนักงาน

สรุปข้อกฏหมาย เกียวกับ การเลิกจ้างแรงงาน อย่างเป็นธรรม เพื่อพิทักสิทธ์ ของลูกจ้าง  

 

 

๑. การบอกกล่าวล่วงหน้า

 
ในสัญญาที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างที่แน่นอน กฎหมายกำหนดให้ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเมื่อมีการเลิกจ้าง โดยบอกกล่าวให้มีระยะเวลาการจ่ายค่าจ้าง ๑ รอบการจ่ายค่าจ้างคั่นกลาง หากบอกกล่าวไม่ครบถ้วนต้องจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
 

๒. ค่าชดเชย

 

คือเงินที่จ่ายเมื่อมีการเลิกจ้าง โดยจ่ายตามอัตราในมาตรา ๑๑๘ อย่างไรก็ตามหากไม่มีการเลิกจ้าง ก็ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย เช่น ลาออกเอง ตาย หรือทำงานไม่ครบ ๑๒๐ วัน นอกจากนั้นอาจไม่จ่ายค่าชดเชยกรณีกระทำความผิดตามมาตรา ๑๑๙

 

๓. กรรมการลูกจ้าง

 
กฎหมายแรงงานสัมพันธ์กำหนดให้การเลิกจ้าง หรือการลงโทษคณะกรรมการลูกจ้าง จะต้องมีการขออนุญาตต่อศาลแรงงานก่อน เมื่อศาลแรงงานอนุญาตแล้ว นายจ้างจึงมาทำหนังสือเลิกจ้างได้
 

๔. กรรมการลูกจ้าง

 
กฎหมายห้ามมิให้เลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ แต่ถ้าเลิกจ้างด้วยเหตุอื่นสามารถทำได้แม้ในระหว่างนั้นจะมีครรภ์ก็ตาม เช่น ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ทุจริต หรือละทิ้งหน้าที่ หรือฝ่าฝืนระเบียบหรือข้อบังคับร้ายแรง เช่นนี้แม้มีครรภ์อยู่นายจ้างก็เลิกจ้างได้
 

๕. ความเท่าเทียมทางเพศ

 
กฎหมายเรื่องความเท่าเทียมระหว่างเพศ ห้ามมิให้การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ โดยกฎหมายกำหนดค่าเสียหายในเชิงลงโทษให้แก่บุคคลซึ่งถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศไม่เกินสี่เท่าของค่าเสียหายที่แท้จริง
 

๖. การยื่นข้อเรียกร้อง

 
ในระหว่างที่มีการยื่นข้อเรียกร้องตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ เพื่อกำหนด หรือเปลี่ยนสภาพการจ้างก็ดี ระหว่างการเจรจาก็ดี การไกล่เกลี่ยก็ดี การชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานก็ดี กฎหมายห้ามมิให้มีการโยกย้ายหน้าที่การงาน และห้ามมิให้เลิกจ้างลูกจ้างที่เกี่ยวข้อง
 

๗. การกระทำอันไม่เป็นธรรม

 
กฎหมายกำหนดห้ามนายจ้างหรือผู้ใดเลิกจ้างเพราะลูกจ้างทำคำร้อง นัดชุมนุม ยื่นข้อเรียกร้อง เป็นพยานให้หลักฐานต่อ จนท. หรือศาล หรือนายทะเบียน หรือ พนง.ประนอมข้อพิพาทแรงงาน หรือเลิกจ้างเพราะเป็นหรือไม่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ย่อมเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
 
 
 

๘. เลิกจ้างไม่เป็นธรรม

 
การเลิกจ้างลูกจ้างจะต้องมีเหตุผลอันสมควร และเหมาะสม หากเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เหตุผล หรือกลั่นแกล้ง หรือไม่เป็นไปตามข้อสัญญา ย่อมเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ในทาง
กลับกันหากมีเหตุผลอันสมควร เช่น นายจ้างขาดทุน หรือปิดกิจการ หรือปรับปรุงการบริหาร หรือนำเครื่องจักรมาใช้ หรือลูกจ้างทำความผิด หรือลูกจ้างหย่อนสมรรภาพในการทำงาน ย่อมเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม
 

๙. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

 
ใน ปพพ. ยังได้กำหนดเรื่องการเลิกจ้างลูกจ้างเอาไว้ในหลายกรณี กล่าวคือ
 
-มาตรา ๕๗๙ เลิกจ้างกรณีลูกจ้างขาดงานไปโดยไม่มีเหตุอันสมควร
 
-มาตรา ๕๘๒ การบอกกล่าวล่วงหน้ากรณีสัญญาไม่ได้กำหนดลงไว้ว่าจะจ้างกันนานเท่าไร จะต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดการจ่ายค่าจ้างคราวใดคราวหนึ่งเพื่อ
ให้เป็นผลเลิกจ้างในคราวถัดไป
 
-มาตรา ๕๘๓ ลูกจ้างจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย หรือละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งเป็นอาจิณ(ประจำ) หรือละทิ้งการงานไปเสีย หรือกระทำความผิดร้ายแรง หรือทำประการอื่นอันไม่เหมาะสมแก่การปฎิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต นายจ้างสามารถไล่ออกได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า หรือให้ค่าสินใหมทดแทน
 
-มาตรา ๕๘๕ เมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุดลงแล้ว ลูกจ้างชอบที่จะได้รับใบสำคัญแสดงว่าลูกจ้างทำงานมานานเท่าไร และงานที่ทำงานที่ทำนั้นเป็นงานอย่างไร
 
-มาตรา ๕๘๖ ถ้าลูกจ้างเป็นผู้ซึ่งนายจ้างได้เอามาแต่ต่างถิ่นโดยนายจ้างออกเงินค่าเดินทางให้ เมื่อการจ้างสิ้นสุดลง ถ้าไม่ได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น นายจ้างจะต้องใช้เงินค่าเดินทางขากลับให้ แต่นายจ้างอาจไม่ต้องจ่ายถ้ากรณีเป็นดังนี้
 
ก) สัญญาที่เลิกหรือระงับเพราะลูกจ้างเป็นฝ่ายทำความผิด
ข) ลูกจ้างไม่เดินทางกลับไปยังถิ่นที่ได้จ้างเอามาภายในเวลาอันสมควร

 

Money Banner

พื้นที่ โฆษณา