“ทุนเสมอภาค” ช่วยเหลือค่าใช้จ่าย อนุบาลถึง ม.ปลาย

“ทุนเสมอภาค” ช่วยเหลือค่าใช้จ่าย อนุบาลถึง ม.3

เด็กไทยทุกคนต้องได้ไปโรงเรียน “ทุนเสมอภาค” ช่วยเหลือค่าใช้จ่าย อนุบาลถึง ม.3

ความพร้อมทางเศรษฐกิจของครอบครัวเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เด็กแต่ละคน ได้เข้าถึงโอกาศทางการศึกษาไม่เท่ากัน แม้รัฐจะอุดหนุนค่าเทอมให้แก่เด็กในทุกช่วงวัย แต่ก็ยังมีค่าใช้จ่ายอื่น เช่น ค่าเดินทาง ค่าอาหาร ค่าอุปกรณ์การเรียน ที่ถือเป็นภาระที่ทำให้หลายครอบครัวไม่สามารถส่งลูกเรียนได้

ทุนเสมอภาค ช่วยอะไรบ้าง



1. ช่วยเด็ก ชั้น อนุบาล ถึง มัธยมศึกษา ตอนต้น (ม.3)  โดย ช่วยคนละ 3,000 บาท/คน/ปี 

2. ช่วยต่อเนื่อง รับทุนเสมอภาค ตั้งแต่ชั้นอนุบาล จนจบการศึกษาภาคบังคม   โดย เมื่อมีการ รับทุนการศึกษาครบ 3 ปี จะมีการสำรวจ ข้อมูลใหม่ทุกๆครั้ง 

3. ช่วยบรรเทา อุปสรรคการมาเรียน  ลดภาระค่าใช้จ่าย เกียวกับการศึกษา ทั้งค่าเดินทาง และ อุปกรณ์การเรียน 

 ได้ทุนเสมอภาค แล้ว ต้อง ไปเรียน 

1.  ต้องให้น้อง มาโรงเรียนสม่ำเสมอ ไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 85% ของเวลาเรียนทั้งหมด 

2. ต้องใช้ทุน ให้เกิดประโยชน์กับน้อง มี อาหารครบ 3 มื้อ มี ค่าเดินทาง มาโรงเรียน อุปกรณ์ครบครัน 

3. ต้องสนับสนุนให้ได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง 

การคัดกรอง นักเรียน ยากจน เพื่อรับทุนเสมอภาค


การคัดกรองนักเรียนยากจน ประเมินจาก

  • รายได้เฉลี่ยสมาชิกครัวเรือนไม่เกิน 3,000 บาท/คน/เดือน
  • มีภาระพึ่งพิง เช่น คนพิการ ผู้สูงอายุ สภาพยานพาหนะ ที่ดินทำการเกษตร แหล่งไฟฟ้าหลัก ที่อยู่อาศัย ของใช้ในครัวเรือน เป็นต้น  

โดยคุณครูจากโรงเรียนทั่วประเทศจะเป็นผู้ลงพื้นที่เพื่อเยี่ยมบ้านนักเรียน



หากพบเห็นเด็กยากจนเสี่ยงจะต้องออกจากโรงเรียน ท้องถิ่น โรงเรียน และคุณครู สามารถแจ้งขอรับความช่วยเหลือได้ที่ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา โทรศัพท์ 02 079 5475 ต่อ 8

 

 

เพิ่มเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษ เยียวยาโควิด ปีการศึกษา 2565

 

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ระบุว่า เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ได้ส่งผลให้ครัวเรือนของนักเรียนยากจนพิเศษมีรายได้ลดลงและเกิดการว่างงาน ประกอบกับผลวิเคราะห์จากโครงการวิจัยพัฒนาระบบบัญชีรายจ่ายด้านการศึกษาแห่งชาติ

จากสถานการณ์ข้างต้น กสศ. จึงมีข้อเสนอว่า อัตราเงินทุนเสมอภาคในปัจจุบัน ยังไม่ครอบคลุมเพียงพอต่อค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาสำหรับครัวเรือนของนักเรียนยากจนพิเศษ ดังนั้นจึงเห็นควรให้เพิ่มอัตราเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษตั้งแต่ปีการศึกษา 2565 เป็นต้นไป เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคม ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาระหว่างนักเรียนจากครอบครัวที่มีรายได้แตกต่างกัน และป้องกันความเสี่ยงในการหลุดออกจากระบบการศึกษาของประชากรกลุ่มนี้ในระยะยาว

 

อัตราเงินอุดหนุนใหม่


1. ระดับอนุบาล


อัตราเดิม 4,000 บาท
อัตราใหม่ (ยังคงจ่ายเท่าเดิม)

 

2. ระดับประถมศึกษา

 

  • อัตราเดิม 3,000 บาท
  • อัตราใหม่ 5,100 บาท

 

3. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

 

  • อัตราเดิม 3,000 บาท
  • อัตราใหม่ 4,500 บาท

 

4. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

 

  • อัตราเดิม 3,000 บาท
  • อัตราใหม่ 9,100 บาท

 

5. อาชีวศึกษา

 

  • อัตราเดิม 3,000 บาท
  • อัตราใหม่ 9,100 บาท

Money Banner

พื้นที่ โฆษณา