สิทธิ แรงงานไทย ตามกฏหมายไทย

สิทธิ แรงงานไทย ตามกฏหมายไทย

แรงงาน เป็นกำลังหลักสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาติ ที่ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญจนมีทั้งสิทธิทางกฎหมายและสิทธิมนุษยชน สำหรับ สิทธิแรงงาน ตามกฎหมายไทย มีดังนี้

 


1. เวลาทำงาน -

งานทั่วไปกำหนดให้ทำไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน และไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ สำหรับงานอันตรายตามที่กำหนดในกฏกระทรวง กำหนดให้ทำไม่เกิน 7 ชั่วโมงต่อวัน และไม่เกิน 42 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

2. เวลาพัก -

ในวันทำงานแรงงานมีเวลาพักติดต่อกันไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง ภายใน 5 ชั่วโมงแรกของการทำงาน หรือจะทำการแบ่งชั่วโมงก็ได้แต่ต้องไม่น้อยกว่าครั้งละ 20 นาทีและเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง

3. วันหยุด


วันหยุดประจำสัปดาห์ - ไม่ น้อยกว่า 1 วัน/สัปดาห์ โดยให้มีระยะห่างกันไม่เกิน 6 วัน
วันหยุดตามประเพณี - ไม่ น้อยกว่า 13 วัน/ปี โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติ
วันหยุดพักผ่อนประจำปี - ไม่ น้อยกว่า 6 วันทำงาน/ปี สำหรับลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาครบ 1 ปี

4. การทำงานล่วงเวลา

และการทำงานในวันหยุด -ชั่วโมงการทำงานล่วงเวลา การทำงานในวันหยุด และการทำงานล่วงเวลาในวันหยุด รวมแล้วต้องไม่เกิน 36 ชม./สัปดาห์

 

5. ค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุด

 

- ค่าล่วงเวลา (OT) ของวันทำงานปกติ และค่าทำงานในวันหยุด ได้รับไม่น้อยกว่า 1.5 เท่า ของอัตราค่าจ้าง / ชั่วโมง ตามมาตรา 61
- ทำงานในวันหยุดในเวลาปกติ ได้รับไม่น้อยกว่า 1 เท่า ของอัตราค่าจ้าง / ชั่วโมง กรณีที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดนั้นอยู่แล้ว
- กรณีวันหยุดที่ไม่ได้รับค่าจ้างจะได้รับเพิ่มเป็น 2 เท่า ของค่าจ้างในวันทำงาน
- ทำงานล่วงเวลาในวันหยุด ได้รับไม่น้อยกว่า 3 เท่า ของอัตราค่าจ้าง / ชั่วโมง

6. ค่าชดเชย -

หากนายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิด ลูกจ้างจะได้รับค่าชดเชย ขั้นต่ำเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน ในกรณีที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุปรับปรุงหรือการนำเครื่องจักรมาใช้ ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องลดจำนวนลูกจ้างลง นายจ้างต้องแจ้งวันที่จะเลิกจ้าง เหตุผลของการเลิกจ้าง และรายชื่อลูกจ้างที่จะถูกเลิกจ้างให้ลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงานทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกสิบวันก่อนวันที่จะเลิกจ้าง

 


ที่มาข้อมูล: กระทรวงแรงงาน

Money Banner

พื้นที่ โฆษณา