ภาษี E-Service วิธีการจัดเก็บ VAT 7% จากผู้ให้บริการออนไลน์ต่างประเทศ

ภาษี E-Service วิธีการจัดเก็บ VAT จากผู้ให้บริการต่างประเทศ

ภาษี E-Service วิธีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม  VAT 7%  จากผู้ให้บริการต่างประเทศ และแพลตฟอร์มต่างประเทศที่ให้บริการทาง Online แก่ผู้ใช้บริการในประเทศไทย ที่มีรายได้จากการให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี เริ่มมีผลบังคับใช้ 1 กันยายน 2564

 

สำหรับธุรกิจที่ต้องมาจดทะเบียนและดำเนินการทางภาษี แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มหลักประกอบด้วย

.
-
  • กลุ่ม E-Commerce เช่น eBay, Alibaba และ Amazon 
  • กลุ่มมีเดียและการโฆษณา เช่น Google, Facebook และ Line
  • กลุ่มบริการ เช่น บริการมาร์เก็ตติ้ง และ Evernote
  • กลุ่มการขนส่ง เช่น สายการบิน 
  • กลุ่มการท่องเที่ยว เช่น Booking และ Airbnb
  • กลุ่มดิจิทัลคอนเทนท์ เช่น Netflix, Iflix, Joox และ Spotify
  • กลุ่มซอฟต์แวร์ เช่น Apple
  • กลุ่มเกม 
  • กลุ่มโครงสร้าง เช่น บริการ Cloud
  • กลุ่มบริการการเงิน เช่น Paypal 
  • กลุ่ม Forex Investment
  • กลุ่มการพนันออนไลน์
 
 

กฎหมาย e-Service คืออะไร ?

กฎหมาย e-Service หรือ ภาษี e-Service คือ วิธีการจัดเก็บ VAT จากผู้ให้บริการต่างประเทศ และแพลตฟอร์มต่างประเทศที่ให้บริการทาง Online แก่ผู้ใช้บริการในประเทศไทย ที่มีรายได้จากการให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี โดยให้อำนาจกรมสรรพากรเป็นผู้จัดเก็บ ในอัตรา 7% ต่อปี ซึ่งให้เสียภาษีจาก “ภาษีขาย” โดยไม่ให้นำภาษีซื้อมาหัก

กฏหมายการจัดเก็บภาษีออนไลน์ E-Service เริ่มใช้เมื่อไร ?

มีผลบังคังใช้ ตั้งแต่ 1 กันยายน 2564 เป็นต้นไป โดยได้เผยแพร่ พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 53) พ.ศ. 2564 เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา

 

 

ตาม พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 53)

1. แก้ไขเพิ่มเติมให้การดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารหลักฐานหรือหนังสืออื่นตามประมวลรัษฎากร สามารถดำเนินการด้วยกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้

2. แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า “สินค้า” และเพิ่มบทนิยามคำว่า “บริการทางอิเล็กทรอนิกส์” และคำว่า “อิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์ม”

3. แก้ไขเพิ่มเติมหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ของผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ แก่ผู้ใช้ซึ่งมิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียน โดยคำนวณจากภาษีขายโดยไม่ให้หักภาษีซื้อ และกำหนดให้ผู้ประกอบการอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์ม มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แทนผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์

4.แก้ไขเพิ่มเติมหน้าที่ของผู้จ่ายเงินในการนำส่งเงิน ภาษีมูลค่าเพิ่ม และหน้าที่ของผู้ประกอบการในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศแก่ผู้ใช้ ซึ่งมิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียน

5. กำหนดให้การดำเนินการทางทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม กระทำโดยกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้

6. กำหนดห้ามมิให้ผู้ประกอบการจดทะเบียน ที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ ออกใบกำกับภาษี

บริการออนไลน์ ที่ต้องเสียภาษี ได้แก่

บริการทางอิเล็กทรอนิกส์

คือ บริการซึ่งรวมถึงทรัพย์สินที่ไม่มีรูปร่างที่ส่งมอบผ่านทางอินเทอเน็ต หรือเครือข่ายทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นโดยบริการดังกล่าวสามารถทำได้ หากปราศจากเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น หนัง เพลง เกม

อิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์ม

ตลาด ช่องทาง หรือกระบวนการอื่นที่ผู้ให้บริการหลายรายใช้ในการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ แก่ผู้รับบริการ” เช่น

  • Google
  • Facebook
  • Youtube
  • Line
  • Joox
  • Netflix
  • อื่น ๆ

 

รวมถึงผู้ให้บริการดาวน์โหลดเกมออนไลน์, แอพพลิเคชั่น สติ๊กเกอร์ และสื่อโฆษณา เป็นต้น

 

ประเภทเงินได้บุคคลธรรมดา ตามหลักการภาษี

สรรพากร ชี้แจงประเด็นเรื่องการถูกเรียกเก็บ ภาษีย้อนหลังของผู้ค้าขาย

วิธีการ ยื่นภาษี ออนไลน์ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภงด 90/91

แม่ค้า ออนไลน์ ต้องยื่น ภาษี ครึ่งปี ตาม ภ.ง.ด. 94 มาตรา 40(8)

 

Facebook AD ประกาศเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม

ก่อนหน้านี้ Facebook ในประไทยต้องมีการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% (Vat) ตามอัตราท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง Facebook จึงได้ มีการ ประกาศ ออกมาว่าจะเร่ิม มีการเก็บ ภาษี มูลค่าเพิ่มจาก ผู้ใช้บริการ ยิงแอดโฆษณา กับทาง Facebook ดังนั้นแล้ว พ่อค้าแม่ค้า ต้อง เตรียมวางแผนการ ในการ ใช้งบประมาณ ในการ ซื้อ โฆษณาออนไลน์ ช่องทางต่างๆ ให้ดี เพราะ 1,000 บาท ที่ท่านเสียไป จะเป็น ค่าโฆษณาเพียง 930 ่บาท อีก 70 บาท จะเป็น ค่าภาษี มูลค่าเพิ่่ม หรือ VAT 7% นี่เอง

 


ผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษี E-Service VAT 7% ต้องชำระภาษี ภายในวันที่ 23 ของเดือนถัดไป

31 สิงหาคม 2564 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง ได้ลงนามกฎกระทรวงว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารหลักฐานและทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งผู้ประกอบการที่ให้บริการอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มจากต่างประเทศ เพื่อกำหนดวิธีการดำเนินงานในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ (e-Service) ของกรมสรรพากร ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ทางกฎหมายในวันพรุ่งนี้ 1 ก.ย.2564 เป็นต้นไป

รมว.คลัง กล่าวว่า ภาษี e-Service นี้ มีการดำเนินการในขั้นตอนของกฎหมายมากกว่า 2 ปี จนได้รับการอนุมัติเมื่อเดือน ก.พ.64 และให้เริ่มมีผลบังคับใช้ในเดือน ก.ย.นี้ โดยกฎกระทรวงฯ จะกำหนดให้ผู้ประกอบการต่างประเทศที่ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์แก่ผู้ใช้บริการที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทย และมีรายได้จากการให้บริการเกิน 1.8 ล้านบาท จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบงานภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ (VAT for Electronic Service : VES) บนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร และยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมชำระภาษีเป็นรายเดือน ภายในวันที่ 23 ในเดือนถัดไป

 

ซึ่งสรุปโดยง่ายก็คือภาษี e-Service นั้นจะถูกจัดเก็บจากผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ และมีการใช้บริการในประเทศ อย่างเช่น วิดีโอ เกม เพลง ภาพยนต์หรือดิจิทัลคอนเทนท์อื่น ๆ  เป็นต้น ซึ่งบริการดังกล่าวจะต้องมีรายรับเดิน 1.8 ล้านต่อปี โดยผู้ประกอบการจะต้องยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร โดยก่อนหน้านี้ก็มีหลาย ๆ ประเทศที่เก็บภาษีผู้ให้ภาษีบริการ e-Service ต่างชาติบ้างแล้ว เช่น สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่นและไต้หวัน 

โดยอธิบดีกรมสรรพากร ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ยังได้เผยอีกว่า “การปรับปรุงกฎหมายในครั้งนี้ จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบการในประเทศไทยกับผู้ประกอบการในต่างประเทศ ที่ให้บริการในประเทศไทยให้ทำการจัดเก็บภาษีมีความเหมาะสม สอดคล้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และยังเป็นการปรับปรุงกฎหมายภาษีไทยให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับแนวทางการจัดเก็บภาษีของนานาประเทศ และกรมสรรพากรคาดว่าการปรับปรุงกฎหมายในครั้งนี้จะช่วยทำให้จัดเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 3,000 ล้านบาท”

 


 

เครดิตที่มา https://www.dharmniti.co.th/eservice-law/

Smart SME

คู่มือการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการ ทางอิเล็คทรอนิคจากต่างประเทศ

Money Banner

พื้นที่ โฆษณา