ถามตอบ ปัญหา ภาษี e-Service คืออะไร มีผลกระทบอะไรบ้าง

ถามตอบ ปัญหา ภาษี E-Service คืออะไร มีผลกระทบอะไรบ้าง

ถามตอบ ปัญหา ภาษี e-Service คืออะไร มีผลกระทบอะไรบ้าง  จากการที่ กรมสรรพกร ประกาศเริ่มใช้ ภาษี e-Service จัดเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่ม กับ ผู้ใช้บริการ และผู้ประกอบการ แพลตฟอร์มออนไลน์ ต่างๆ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา ทำให้ หลายคนสงสัยว่า ภาษี e-Service คืออะไร และส่งผลกระทบต่อ ผู้ใช้บริการ ค้า-ขายออนไลน์ อย่างไรบ้าง 

 

 

คำถาม  ภาษี e-Service คืออะไร ทำไมต้องเรียกเก็บ

คำตอบ  :  ภาษี e-Service ไม่ใช่าภาษี ประเภทใหม่ แต่คือภาษีมูลค่าเพิ่ม Vat ที่จัดเก็บจากการใช้ บริการ อิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) จากต่างประเทศ    

เนื่องจาก เทคโนโลยีในยุคดิจิทัล ที่ทำให้การใช้บริการทางอิเล็ทกรอนิกส์ เกิดขี้นได้อย่างไรพรมแดน โดยผู้ใช้ในประเทศไทย สามารถเข้าถึง บริการ จากต่างประเทศ ผ่าน อินเตอร์เน็ต ได้โดยง่าย สะดวกและรวดเร็ว

เดิม กฏหมาย กำหนดให้ ผู้ใช้บริการ ในไทย ทั้งผู้ประกอบการที่จด VAT และ ผู้ที่ไม่จด VAT เมื่อจ่ายเงินค่าบริการ มีหน้าที่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม จากการที่ใช้บริการ จากต่างประเทศ ดังกล่าว อย่างไรก็ดี ประชาชน ทั่วไ ซึ่งไม่ได้เป็นผู้ประกอบการ จด Vat มีการนำส่งภาษี มูลค่าเพิ่ม ในส่วนนี้ อย่างจำกัด  

 

ผลที่เกิดขึ้น 

สร้างความไม่เป็นธรรมในภาระภาษี มูลค่าเพิ่ม จาการใช้บริการ ทางอิเล็กทรอนิกส์ จากในประเทศ และ ต่างประเทศ และ สร้างความไม่เท่าเทียม ในการแข่งขัน ระหว่างผู้ประกอบการไทย ที่มีต้นทุน ของภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ ผู้ประกอบกการต่างประเทศ ที่ไม่มี 

 

ทางออก 

กฏหมาย e-Service จึงถูกนำเสนอ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยกำหดนให้ผู้ประกอบการหรือ แพลตฟอร์ม ต่างประเทศ ที่มีรายรับ จากการให้บริการ ทางอิเล็กทรอนิกส์ แก่ผู้ใช้ บริการ ที่ไม่ได้ จด VAT  ในไทย เกินกว่า 1.8 ล้านบาท ในระอบระยะเวลาบัญชี ให้ยื่นคำขอจะทะเบียน ภาษี มูลค่าเพิ่ม และมีหน้าที่ นำส่งภาษี มูลค่าเพิ่ม จากการให้บริการ e-Service แทนผู้ใช้บริการ ที่ไม่ได้จด VAT

 

20 ธุรกิจออนไลน์ ข้ามชาติ ยื่นจด ภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามกฏหมาย E-Service

ภาษี E-Service วิธีการจัดเก็บ VAT 7% จากผู้ให้บริการออนไลน์ต่างประเทศ

 

 

คำถาม ภาษี e-Service มีผลใช้บังคับเมื่อไร  

คำตอบ  ผู้ประกอบการ หรือ แพล็ตฟอร์ม ต่างประเทศ ที่มี่รายได้จากการให้บริการ e-Service ในไทย ถึงเกณฑ์ 1.8 ล้านบาท มีหน้าที่ต้องมาจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ในประเทศไทย ตั้งแต่ วันที่ 1 กันยายน 2564 (ทั้งนี้ กรมสรรพากร ได้เปิดให้ จดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มล่วงหน้า ตั้งแต่ วันที่ 16 สิงหาคม 2564 )

 

 

คำถาม  ภาษี e-Service ส่ง ผลให้ผู้ใช้บริการ ในประเทศไทย อย่างไรบ้าง

คำตอบ   ในสาระสำคัญ กฏหมาย e-Service เป็นการ เปลี่ยนหน้าที่ในการนำส่งภาษี มูลค่าเพิ่ม กรณี การใช้บริการ e-Service จากผู้ให้บริการต่างประเทศ 

จากเดิม ผู้จ่ายค่าบริการเป็นผู้นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ในทุกกรณี เปลี่ยนเป็น ให้ ผู้ประกอบการ ต่างประเทศ เป็นผู้นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ในกรณ๊ที่ผู้ใช้บริการ ไมไ่ด้เป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยมีรายละเอียด ของผู้ที่เกียวข้อง ดังนี้ 

ผู้ที่เกียวข้องกับการจ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม e-Service

1 ผู้ประกอบการ e-Service จากต่างประเทศ

มีหน้าที่ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จากการให้บริการ e-Service และนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้แก่กรมสรรพากร ทุกเดือน ด้วยแบบ P.P. 30.9

2 ผู้ใช้บริการในประเทศไทย   

สามารถแบ่งได้เป็น 

2.1  ผู้ใช้บริการซึ่งเป็น ผู้ประกอบการ จด VAT หรือ จดภาษีมูลค่าเพิ่ม 

       ไม่ได้รับผลกระทบจากกฏหมายนี้ กล่าวคือ ผู้ประกอบการ จด VAT ที่ใช้บริการ e-Service จากต่างประเทศ ยังคงมีหน้าที่ นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม จากการใช้ บริการ ดังกลว่า ให้แก่กรมสรรพกร ด้วยแบบ ภ.พ.36   และ สามารถ นำไปใช้เป็น ภาษีซื้อได้ เช่นเดิม  

** ผู้ประกอบการ ต่างประเทศ จะไม่เรียเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม จากผู้ใช้บริการ กลุ่มนี้ 

2.2 ผู้ใช้บริการ ซึ่ง ไม่ได้ เป็น ผู้ประอกบารจด VAT 

จากเดิม ที่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม เอง เปลียนเป็น หน้าที่ของ ผู้ประกอบการ e-Service จากต่างประเทศ เป็นผู้นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้  

2.3 ผู้ใช้บริการที่เป็น ประชาชน 

จากเดิม  ที่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มเอง เปลียนเป็น หน้าที่ของ ผู้ประกอบการ จากต่างประเทศ เป็นผู้นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม แทน 

 การนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามกฏหมาย e-Service

 

 

 

สถานะผู้ใช้บริการ  เมื่อใช้บิรการ e-Service จากต่างประเทศ
เดิม กฏหมาย e-Service
ผู้ประกอบการ จด VAT

ผู้ใช้ บริการนำส่ง VAT ด้วยแบบ ภ.พ.36

  • นำ VAT ไปใช้ เป็นภาษีซื้อได้ 
  • ค่าบริการ ที่เกียวข้องกับ กิจการ นำไปหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ 

ผู้ใช้ บริการนำส่ง VAT ด้วยแบบ ภ.พ.36

  • นำ VAT ไปใช้ เป็นภาษีซื้อได้ 
  • ค่าบริการ ที่เกียวข้องกับ กิจการ นำไปหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ 
ผู้ประกอบการ ไม่จด VAT  และ ประชาชน ผู้ใช้ บริการนำส่ง VAT ด้วยแบบ ภ.พ.36 ผู้ประกอบการ ต่างประเทศ นำส่ง VAT แทน

 

 คำถาม  จริงหรือไม่ กฏหมาย e-Service จะทำให้ผู้ใช้บริการ ต้องเสีย Vat เพิ่มขึ้น และค่าบริการ จะแพงขึ้นหรือไม่

คำตอบ กฏหมาย e-Service ไม่ได้ทำให้ผู้ใช้บริการ ในไทย มีภาระภาษีเพิ่ม่ขึ้น เนื่องจาก เดิม กฏหมายกำหนดให้ผู้ใช้บริการ ในไทย ไม่ว่าจะเป็น ผู้ประกอบการจดทะเบียน VAT หรือไม่ที่ไม่ได้จด VAT ต้องนำส่งภาษี มูลค่าเพิ่ม จากการใช้ บริการ จากต่างประเทศอยู่แล้ว 

กฏหมาย e-Service จะช่วยให้ผู้ใช้บริการ ที่เป็นประชาชนทั่วไป ที่ไม่ได้ จด VAT ไม่มีหน้าที่ต้องยื่น แบบฯ และส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้แก่กรมสรรพากรอีกต่อไป

สำหรับค่าบริการ จะแพงขึ้นหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับ กลไกตลาด และ นโยบาย ในการกำหนดราคา ของผู้ประกอบการ ต่างประเทศว่าจะผลักภาระภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ใช้บริการหรือไม่ ซึ่งผลการศึกษาใน 60 ประเทศที่จัดเก็บ พบว่า มีทั้งผลัก และไม่ผลักภาระ 

อย่าไรก็ดี ภาษีที่จัดเก็บ จากการใช้บริการ ดังกล่าวจะเป็นรายได้ อีกทางหนึ่ง ให้กับประเทศไทย ต่อไป 

 

 คำถาม บริษัท ในไทย ที่ใช้บริการ e-Service ต้องเสีย VAT 2 เท่า หรือเสียในอัตราร้อยละ 14 ใช่หรือไม่

คำตอบ   ไม่ใช่   

บริษัท ที่เป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียน VAT ในไทย ยังคงเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 7 และ นำส่งด้วยแบบ ภ.พ. 36 เช่นเดิม  

โดยผู้ประกอบการ e-Service ต่างประเทศ ไม่มีสิทธฺเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม เพิ่มเติม จากผู้ประกอบการ จด VAT ในไทย เนื่องจากกฏหมาย e-Service กำหนดให้ ผู้ประกอบการ ต่างประเทศ เรียเก็บ VAT เฉพาะการให้บริการ แ่กผู้ใช้ บริการ ที่ไม่ได้ จด VAT

 

คำถาม Platform ต่างประเทศ จะรู้ได้อย่งไร ว่าผู้ใช้ในไทย จด VAT หรือไม่

คำตอบ กฏหมาย e-Service กหนดให้ผู้ประกอบการ ต่างประเทศ นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม จาการให้บริการ แก่ผู้ใช้บริการที่ไม่ได้ จด VAT เท่านั้น 

ผู้ประกอบการ ต่างประเทศ สามาถทราบข้อมูล ว่าผู้ใช้บริการ ในไทยจด VAT หรืไม่ จากข้อตกลงในสัญญาการให้บริการ หรือ ผู้ประกอบการต่างประเทศ อาจจะขอ ข้อมูลเพิ่มเติม จากผู้ใช้บริการ เช่น เลขทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อยืนยัน ว่าผู้ใช้บริการ รายใด เป็นผู้ประกอบการ จด VAT บ้าง หาก ผู้ใช้บริการ ไม่ได้ แจ้ง เลขทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้ผู้ประกอบการต่างประเทศ ทราบ ผู้ประกอบการต่างประเทศอาจถือว่า ผู้ใช้บริการรายนั้น ไม่ใช้ ผู้ประกอบ การ จด VAT และ เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม จากการใช้บริการ ทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามกฏหมาย e-Service

 

คำถาม ถ้าบริษัท จดทะเบียนในไทย ใช้บริการ e-Service แล้วโดนเรียกเก็บ VAT ต้องทำอย่างไร 

คำตอ  บริษัท จด VAT ในไทย ควรแจ้งให้ผู้ประกอบการ ต่างประเทศ ทราบว่า ตนได้จด VAT และไม่มีหน้าที่ต้องนำส่ง VAT ให้แก่ผู้ประกอบการ ต่างประเทศ  (ผู้ประกอบการ ต่างประทศ ก็ไม่มีสิทธเรียกเก็บ VAT ในกรณีนี้ด้วย)

อย่างไรก็ดี หากบริษัท จด VAT ในไทย ถูกผู้ประกอบการต่างประเทศ เรียกเก็บ VAT ไปแล้ว บริษัท สามารถติดต่อ ผู้ประกอบการต่างประเทศ  เพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียเก็บไว้ได้

 

คำถาม ประเทศไทย จะได้ประโยชน์ จาก กฏหมาย e-Service อย่างไร 

คำตอบ 

กฏหมาย e-Service จะสร้างประโยชน์ต่อประเทศดังนี้

 

  • ส่งเสริม ความเป็นธรรม ในการเสียภาษี และ การแข่งขัน ระหว่างผู้ประกอบการ ที่ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ ในประเทศ และต่างประเทศ
  • อำนวยความสะดวก ให้แก่ผู้ใช้บริการ ในไทย ที่ไม่ได้เป็นผู้ประกอบการ จด VAT ไม่ต้องนำส่ง ภาษีมูลค่าเพิ่ม จากการใช้บริการ e-Service จากต่างประเทศ
  • ปรับปรุงกฏหมาย ภาษีของไทย ให้มีความเป็นสากล สอดคล้อง กับหลักการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่นานาปรเทศปฏฺบัติ
  • อำนวยรายได้ ให้ประเทส โดยคาดว่าจะทำให้จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้เพิ่มขึ้นประมาณ ปีละ 5,000 ล้านบาท

คำถาม ผู้ประกอบการ ต่างประเทศ จะได้ประโยชน์ อะไรจากการเสียภาษี e-Service 

คำตอบ  ผู้ประกอบการ ต่างประเทศ อาจไม่ได้รับประโยชน์ โดยตรงจากการเสียภาษี e-Service และจะมีภาระในการปฏิบัติ หน้าที่ทางภาษีมูลค่าเพิ่มขึ้น

กฏหมาย e-Service นี้ เป็นการปรับปรุง รูปแบบการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามแนวทาง OECD และเป็น แนวทางสากล ซึ่งได้ถูกนำไปปรับใช้ในหลายประเทศทั่วโลก เช่น อังกฤษ ออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์ สิงค์โปร์ ญี่ปุ่น เกาหลี จีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และอื่นๆ อีกกว่า 60 ประเทศ แล้ว 

ดังนั้น ผู้ประกอบการต่างประเทศ โดยเฉพาะ ผู้ประกอบการ รายใหญ่ได้ปฏฺบัติหน้าที่ตามกฏหมาย ที่ใช้หลักการเดียวกันนี้ในต่างประเทศ อยู๋แล้ว 

ในระหว่างการเตรียมการบังคับใช้กฏหมาย กรมสรรพากร ได้หารือ และรังฟังความคิดเห็น จากผู้ประกอบการต่างประเทศ อย่างต่อเนื่อง และ พบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยินดี และมีความพร้อมที่จะปฏิบัติ ตามกฏหมาย e-Service ของประเทศไทย และแสดงความตั้งใจ ที่จะปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้อง ตามกฏหมาย 

 

 คำถาม หากผู้ประกอบการ ต่างประเทศไม่มาจดทะเบียน หรือเก็บ VAT ไปแล้วไม่มาชำระกรมสรรพากร จะทำอย่างไร

คำตอบ

  • ก่อนที่กฏหมายจะมีผลบังคับใช้ กรมสรรพกร ได้เชิญผู้ประกอบการ ต่างประเทศ มาหารืออย่างต่อเนื่อง และผู้ประกอบการ ต่างประเทศ มีความเต็มใจ และพร้อม ที่จะปฏิบัติตามกฏหมาย e-Service ของประเทศไทย 

  • หากผู้ประกอบการต่างประเทศ ที่มีหน้าที่ ต้องมาจดทะเบียนแต่ไม่ดำเนินการ กรมสรรพากร มีอำนาจ ประเมิน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามประมวลรัษฏากร และผู้ประกอบการ ดังกล่าว มีความรับผิด ในการเสียภาษี เสมือนเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนในประทศไทย

    กรมสรรพกร สามารถใช้กลไก การตรวจสอบ โดยการเชิญ พบ หรือออกหมายไปยังผู้ประกอบการ เพื่อตรวจสอบ และประเมินเรียเก็บภาษี หรือออกหมายเรียกพยาน ผู้เกียวข้อง เช่น สถาบันการเงินต่งๆ เพื่อขอข้อมูล การทำธุรกรรม ผ่าน สถาบันการเงิน มาใช้ประกอบการ ตรวจสอบ และประเมิน เรียกเก็บภาษี 

  • กรมสรรพากร จะแสดงรายชื่อของผู้ประกอบการ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผ่านเว็บไซด์ ของกรมสรรพากร (ภาษาอังกฤษ) ซึ่งจะทำให้ ตรวจสอบ รายชื่อผู้ประกอบการที่มาจดทะเบียน แล้วได้ 

    การแสดงรายชื่อดังกล่าว เป็นวิธีที่นานาประเทศ ใช้และ จะก่อให้เกิดมาตราการ ลงโทษทางสังคม (Social Sanction) แก่ผู้ประกอบการ ที่ไม่จดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งผู้ประกอบการ ต่างประเทศ รายใหญ่ให้ความสำคัญกับชื่อเสียงในทางธุรกิจ เป็นอย่างมาก เพราะจะส่งผลกระทบต่อผลการประกอบธุรกิจ

 

กรณี ผู้ประกอบการ ต่างประเทศ ได้จดทะเบียน แล้ว แต่ไม่นำส่ง ภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้กรมสรรพากร แยกพิจารณา ได้ดังนี้ 

  • กรณี ผู้ประกอบการ ต่างประเทศ ไม่มีทรัพย์สินในประเทศไทย และ มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี กรมสรรพากร สามารถ อาศัญความร่วมมือทางกระบวนการยุติธรรม ระหว่างประเทศ ซึ่งรวม ถึง ความร่วมมือ ด้านการต่อต้านการฟอกเงิน เนื่องจากหลีกเลี่ยงภาษี เป็นความผิดมูลฐาน ตามกฏหมาย ป้องกัน และปราบปราม การฟอกเงิน ที่อาจขอความร่วมมือ จากต่างประเทศ ในการบังคับตามกฏหมายได้

  • กรมสรรพากร อาจขอความร่วมมือ กับหน่วยงาน จัดเก็บภาษีในต่างประเทศ ให้ช่วยจัดเก็บภาษีและและเปลีียนข้อมูลทางภาษี อันจะส่งผลให้ กรมสรรพากร มีฐานข้อมูลภาษี สำหรับ วิเคราะห์ พฤติกรรม และความเสี่ยง ทางภาษี ของผู้ประกอบกการ ข้ามชาติ ซึ่งจะช่วยให้กรมสรรพากร สามารถติดตาม จัดเก็บภาษีจากผู้ประกอบการ ในต่างประทศ 

  • กรณ๊ผู้ประกอบกการต่างประเทศ ที่มีทรัพย์สินหรือ บัญชีเงินฝากในประเทศไทย กรมสรรพากร สามารถบังคับ เอาจาก ทรัพย์สิน หรือบัญชี เงินฝากนั้น ได้ตามประมวลรัษฎากร



 คำถาม ตรวจดูรายชื่อ ธุรกิจต่างชาติที่เข้า จด VAT ตามกฏหมาย e-Service ได้ที่ไหน

คำตอบ

กรมสรรพากร ได้ประกาศราชื่อ ผู้ประกอบการ ต่างประเทศ ที่ได้มาจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามกฏหมาย e-Service บนเว็บไซด์ กรมสรรพากร  

https://eservice.rd.go.th/rd-ves-web/search/company

- www.rd.go.th >  English > VAT for Electronic Sevice (VES) >> Search for VAT Registrants >> Non-resident VAT registrants

 

 คำถาม หากผู้ใช้บริการ ในประเทศไทย ได้จ่ายค่าบริการ ให้แก่ผู้ประกอบการ e-Service ในต่างประเทศ ซึ่งไมไ่ด้ จดทะเบียน VAT ในประเทศไทย ผู้ใช้บริการ ต้องดำเนินการอย่างไร

คำตอบ

ขออธิบาย แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ผู้ใช้บริการ ซึ่งจะมีภาระทางภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนี้ 

  • ผู้ใช้บริการในประเทศไทย เป็นผู้ประกอบการ จด VAT : ผู้ใช้บริการ มีหน้าที่ ต้องนำส่ง ภาษีมูลค่าเพิ่ม จากากรใช้บริการดังกล่าว ด้วยแบบ ภ.พ.36
  • ผู้ใช้บริการในไทย เป็นผู้ประกอบการ ที่ไม่ได้ จด VAT : ผู้ใช้บริการ ไม่มีหน้าที่ต้องดำเนินการใดๆ ไม่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากหน้ทาี่ในการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นของผู้ประกอบการ e-Service ในต่างประเทศ
  • ผู้ใช้บริการ ในไทยเป็นประชาชน ไมไ่ด้จดทะเบียน VAT : ผู้ใช้บริการ ไม่มีหน้าที่ต้องดำเนินการใดๆ ไม่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากหน้ทาี่ในการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นของผู้ประกอบการ e-Service ในต่างประเทศ

ทั้งหนี้ หากผู้ใช้บริการในไทย ทราบว่า ผู้ประกอบการ e-Service ในต่างประเทศ รายใด มีรายได้ จากการให้บริการในประเทศไทย เกินกว่า 1.8 ล้านบาท ต่อปี และ ยังไมไ่ด้ จด VAT ในประเทศไทย 

โปรดแจ้ง ให้กรมสรรพากร ทราบผ่าน "ระบบแจ้งเบาแสหลีกเลี่ยงภาษี" ที่อยู่บนเว็บไซด์ กรมสรรพากร เพื่อกรมสรรพากร จะได้ดำเนินการให้ผู้ประกอบการรายนั้น มาจด VAT ต่อไป 

 

 

 

 

Money Banner

พื้นที่ โฆษณา