เงื่อนไข โครงการ สินเชื่อฟื้นฟู พักทรัพย์ พักหนี้

เงื่อนไข โครงการ สินเชื่อฟื้นฟู พักทรัพย์ พักหนี้

เงื่อนไข โครงการ สินเชื่อฟื้นฟู พักทรัพย์ พักหนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย อนุมัติ ร่าง พรก ช่วยเหลือฟื้นฟู ผู้ประกอบการ ที่ได้รับผลกระทบจากการ แพร่ระบาดของ เชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 เพื่อให้สามารถคงการจ้างการ ในสถานประกอบการไว้ได้ 

 

 

หลักการของ พรก กำหนดการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบการ


1. มาตรการ สนับสนุน การให้สินเชื่อฟื้นฟู แก่ผู้ประกอบการ
2. มาตรการ สนับสนุน การรับโอนทรัพย์สิน หลักประกัน เพื่อการชำระหนี้ (โครงการ พักทรัพย์ พักหนี้)

พ.ร.ก. ฟื้นฟูฯ มีผลบังคับใข้ตั้งแต่ 10 เมษายน 2564 และให้ สถาบันการเงินสามารถยื่นคำขอกู้เงินจาก ธปท. ตามมาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อฟื้นฟูและโครงการพักทรัพย์พักหนี้ ได้ตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2564 เป็นต้นไป

 

 

1. รายละเอียด มาตราการ สินเชื่อฟื้นฟู

 

การขอสินเชื่อฟื้นฟู ต้องมีวัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสภาพคล่องในการประกอบธุรกิจ ลดผลกระทบต่องการจ้างงาน และ ฟื้นฟู การประกอบธุรกิจ

วงเงินสินเชื่อที่จะได้รับ

ลูกหนี้เดิม : ขอกู้ได้ไม่เกิน 30% ของวงเงินในแต่ละสถาบันการเงิน แต่ไม่เกิน 150 ล้านบาท หากเคยได้รับสินเชื่อ Soft Loan เดิม ให้นับรวมด้วย

ลูกหนี้ ใหม่ : ขอกู้ ได้ในวงเงิน ไม่เกิน 20 ล้านบาท

ระยะเวลาของสินเชื่อฟื้นฟู และ การคิดอัตราดอกเบี้ย

- ระยะเวลาสินเชื่อ 5 ปี คิดอัตราดอกเบี้ย 5% ต่อปี
- 2 ปีแรก ให้คิดอัตราดอกเบี้ย ไม่เกิน 2% ต่อปี
- 6 เดือนแรก รัฐบาล ชดเชย ดอกเบี้ยให้ ธนาคารจะไม่เรียกเก็บ
- สถาบันการเงินจะไม่เกรียนเก็บค่าธรรมเนียมใดๆ รวมถึง ดอกเบี้ย ผิดนัดชำระหนี้ ในช่วง 5 ปี
หมายเหตุ มีค่าธรรมเนียม การค้ำประกันสินเชื่อ บสย. 1.75% ต่อปี โดยรัฐสนับสนุน จ่ายแทน ลูกหนี 3.5% ตลอดอายุการค้ำประกัน

 

คุณสมบัติ ลูกหนี้ ที่จะขอ สินเชื่อฟื้นฟู


ลูกหนี้เดิม เป็น บุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล ที่จดทะเบียน มีสถานประกอบการ และ ประกอบ ธุรกิจ ในประเทศไทย ไม่เป็น บริษัท จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ยกเว้น ที่จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ และ ไม่เป็นผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน
ลูกหนี้เดิม มีวงเงินสินเชื่อ ไม่รวมสินเชื่อเพื่ออุปโภค บริโภค แต่รวมวงเงิน Soft Loan เดิม ไม่เกิน 500 ล้านบาท ต่อราย ต่อธนาคาร ณ วันที่ 28 กพ 2564 และไม่เป็น หนี้ เสีย NPL ณ สิ้นปี 2562

 

 

ลูกหนี้ใหม่ ไม่มีวงเงิน สินเชื่อกับธนาคารทุกแห่ง ณ วันที่ 28 กพ. 2564

 

เงื่อนไข ควบคุมวัตถุประสงค์ การใช้วงเงินสินเชื่อฟื้นฟู


สามารถใช้เพื่อเป็น เงินทุนหมุนเวียน Working Capital เช่น การชำระหนี้ แก่เจ้าหนี้การค้า การจ่ายค่าแรง หรือ เพื่อ ต่อยอดธุรกิจ เช่นการต่อเติม โรงงาน การซื้อเครื่องจักร ทั้งสำหรับ ธุรกิจเดิม และ ธุรกิจใหม่

 

ทั้งนี้ไม่สามารถนำ สินเชื่อฟื้นฟู ไปชำระคืน soft loan เดิม หรือสินเชื่อ ที่มีอยู่เดมิ เนื่องจาก มาตรการนี้ มีวัตถุประสงค์เพ่อประคับประคองกิจการ และรักษา การจ้างงาน ภายใต้สถานการณ์ ความไม่แน่นอน อีกทั้งเพื่อให้กิจการ สามารถฟื้นตัว ได้รวดเร็วขึ้น

 

ลูกหนี้ สามารถ ขอสินเชื่อ กับธนาคารได้มากกว่า 1 แห่งหรือไม่


ผู้ประกอบการธุริกจ ที่มีคุณสมบัติ ครบตามที่กำหนด สามารถยื่นขอ สินเชื่อกับธนาคารได้มากกว่า 1 แห่ง

 

รูปแบบการชำระคืนสินเชื่อฟื้นฟู

 


การกำหนดเงื่อนไข การผ่อนชำระเงินกู้ สินเชื่อฟื้นฟู ขึ้นอยู่ กับ ธนาคาร แล ผู้ประกอบการ ธุรกิจ จะตกลงกัน โดยคำนึงถึง ความสามารถในการชำระหนี้ ของผู้ประกอบการแต่ละราย

ลูกหนี้ มีสิทธ์ได้รับวงเงิน สินเชื่อฟื้นฟูเท่าไร

 

ลูกหนี้เดิม วงเงินสินเชื่อฟื้นฟู ที่ได้รับ จากแต่ละธนาคาร รวมกับวงเงิน soft loan ที่ได้รับแล้ว ไม่เกิน 30% ของวงเงินสินเชื่อ ณวันที่ 31 ธค. 2562 หรือ 28 กพ 2564 แล้วแต่ยอด ใดจะสูงกว่า แต่ต้องไม่เกิน 150 ล้านบาท ทั้งนี้ วงเงินที่จะได้รับขึ้นอยู่กับ การพิจารณา ของธนาคาร

 

 

ตัวอย่าง ลูกหนี้ วงเงิน 300 ล้านบาท และ ยอดหนี้ 200 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวามคม 2564 ได้รับวงเงิน soft loan เดิม 40 ล้านบาท หรือ 20% ของยอดหนี้ ทำให้มีวงเงิน รวม 340 ล้านบาท

 

 

 

ต่อมา ต้องการขอสินเชื่อ ฟื้นฟู จะได้ไม่เกิน 30% ของ 340 ล้านบาท คือ 102 ล้านบาท หักลบ กับวงเงิน Soft loan ที่ได้ไปแล้ว 40 ล้านบาท เหลือวงเงินสินเชื่อ พื้นฟูที่จะได้รับ สูงสุด 62 ล้านบาท

 

ลูกหนี้ ใหม่ ได้รับสินเชื่อ ไม่เกิน 20 ล้านบาท โดยนับรวมทุกสถาบันการเงิน

 

 

ธนาคารสามารถเรียกหลักประกันเพิ่มได้หรือไม่

ขึ้นอยู่กับ การพิจารณาของธนาคารแต่ละแห่ง อย่างไรก็ดี โครงการ ไม่ได้กำหนดให้ลูกหนี้ ต้องมีหลักประกันเพิ่มเติม
การขอสินเชื่อฟื้นฟู้ มีค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม หรือไม่


- ในช่วง 5 ปีแรก ของสัญญา ธนาคาร จะไม่เรียก เก็บค่าธรรมเนียมใดๆ ภายใต้ การดำเนินการของธนาคารเอง
- ผู้ประกอบยังมีค่าใช้จ่าย เพิ่มเติม จากค่าธรรมเนียม ที่ต้องจ่าย ให้บุคคลภายนอก เช่น
- ค่าอาการที่จ่ายให้หน่วยงานราชการ
- ค่าประเมินราคาที่จ่าย ให้กับ บริษัท ประเมิน ราคาภายนอก
- ค่าธรรมเนียม การค้ำประกันสินเชื่อโดย บสย เฉลี่ย 1.75% ต่อปี โดยรัฐ จะสนับสนุนจ่าย แทนลูกหนี้ ในปีที่ 3-7

 

ธนาคารสามารถเรียกเก็บค่าเบี้ย ประกันชีวิต คุ้มครองสินเชื่อ เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยง ของ ธนาคาร ได้หรือไม่

 

ธนาคาร สามารถเรียกเก็บ ค่าเบี้ยประกันชีวิต คุ้มครอง สินเชื่อได้ ตามค่าใช้จ่าย ที่เกิดขึ้นจริง แต่ธนาคาร ต้องไม่บังคับ ทำประกันชีวิต และไม่กำหนด เป็นเงื่อนไข ให้ได้รับการพิจารณา อนุมัติสินเชื่อ

 

 

หาก สนใจ ขอสินเชื่อฟื้นฟู ต้องดำเนินการอย่างไร และ เริ่มยื่นขอสินเชื่อได้ตั้งแต่เมื่อไร

 

ลูกหนี้ สามารถติดต่อ ธนาคาร ที่เป็นเจ้าหนี้ หรือธนาคาร ที่ท่านสะดวก กรณีเป็นลูกหนี้ใหม่ เพื่อขอร่วมโครงการ ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

 

การขออนุมัติสินเชื่อใช้เวลาเท่าไร


แบงก์ชาติ กำชับให้ธนาคารเร่งพิจารณาสินเชื่อฟื้นฟู แต่เนื่องจาก ธนาคารแต่ละแห่ง มีกระบวกการพิจารณา สินเชื่อที่แตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับ ขนาดของ ลูกหนี้ ด้วย จึงไม่สามาถกำหนดระยะเวลา อนุมัติสินเชือ่เป็นมาตรฐานได้ ทั้งนี้ ธนาคาร จะพิจารณา อนุมิติสินเชื่อโดยเร็วเพื่อประโยชน์ ของลูกหนี้

 


หากไม่เข้าคุณสมบัติ ตามมาตรการสินเชื่อฟื้นฟู้ จะทำอย่างไร

 

กรณี ไม่เข้า หลักเกณฑ์ คุณสมบัติ ตามมาตราการฟื้นฟู เช่น เป็น หนี้ เสีย NPL ก่อนสิ้นปี 2562 จะมีมาตรการช่วยเหลือ ลูกหนี้ สามารถขอรับความช่วยเหลือ จากมาตรการอื่นๆ ของแบงก์ชาติ ในการปรับโครงสร้างหนี้ กับธนาคารได้ นอกจากนี้ สำหรับ ลูกหนี้ ที่มีสินเชื่อ กับธนาคาร หลายแห่ง สามารถ สมัคร เข้าร่วม โครงการ DR BIZ เพื่อปรับปรุงโครสร้างหนี้ แบบเบ็ดเสร็จ สำหรับผู้ประกอบธุรกิจ ที่มีเจ้าหนี้ หลายราย

.............

 

สรุปขั้นตอน มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ ทางด่วนแก้หนี้ สินเชื่อ บัตรเครดิต

ธปท จัดสินเชื่อ รวมหนี้ บัตรเครดิต ช่วย ลูกหนี้รายย่อย

ออมสิน ธกส ปล่อยกู้ 10,000 บาท ช่วยผู้ได้รับ ผลกระทบโควิด ได้ทุกอาชีพ


2. ตอบข้อสงสัย รายละเอียด โครงการ พักทรัพย์ พักหนี้


โครงการพักทรัพย์ พักหนี้ จะเป็น มาตรการ ช่วยลด ภาระหนี้ของผู้ประกอบการธุรกิจ และสนับสนุนการรับโอนทรัพย์เป็นหลักประกัน เพื่อชำระหนี้ แก่สถาบันการเงิน


.................................

กลไกการทำงานของ มาตรการโครงการ พักทรัพย์ พักหนี้

 

1 ผู้ประกอบการธุรกิจ ในฐานะ ลูกหนี้ ทำการ โอนทรัพย์ กับ สถาบันการเงิน แล้ว สถาบันการเงิน ทำงาน ลดภาระหนี้ ลดทั้งเงินต้น และ ดอกเบี้ย

 

2. สถาบันการเงิน บริหาร จัดการ สินทรัพย์

ให้สิทธิ์แรก First right กับผู้ประกอบการรายเดิม ซื้อทรัพย์สิน คืน หรือ สามารถเช่าทรัพย์ ได้ ภายใน 3-5 ปี
โดย ราคาขาย ที่ซื้อคืน เท่ากับ ราคาขาย + Carrying Cost 1% และ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง

 

สิทธิ์ ประโยชน์เพิ่มเติม จากภาครัฐ

- สนับสนุนประโยชน์ทางภาษี และค่าธรรมเนียม การตีโอนทรัพย์ชำระหนี้ ทั้งขารับโอน และ ขาคืนทรัพย์
- ลดหย่อน ค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวกับ การจดทะเบียน จดจำนอง อสังหาริมทรัพย์และ อาคารชุด และ การจดทะเบียน สัญญาหลักประกัน ทางธุรกิจ

 

 

มาตรการนี้ แตกต่าง จากการตีทรัพย์ ชำระหนี้ ตามปกติอย่างไร

 

มาตรการ พักทรัพย์ พักหนี้ นี้ มีการกำหนด แนวทางการ คำนวณ ราคา ซื้อคืน ไว้ชัดเจน และให้โอกาส ลูกหนี้ รายเดิม มาซื้อคืน ก่อน เป็นลำดับแรก รวมทั้งภาครัฐให้สิทธ์ประโยชน์ทางภาษี และ ค่าธรรมเนียม ในขณะที่การตีทรัพย์ ชำระหนี้ ทั่วไปนั้น ธนาคาร มีสิทธ์ ที่จะขายทรัพย์ให้กับใครก็ได้ ที่ราคา ตลาด

 

 

ผู้ประกอบการจะได้รับประโยชน์อย่างไร ในการ พักทรัพย์ พักหนี้

 

 

ผู้ประกอบการ ไม่ต้องแบกรับภาระต้นทุน การเงิน ชั่วคราว มีโอกาส ในการกลับมา ดำเนินธุรกิจ ได้ในอนาคต และหลีกเลียงกร ถูกกดราคา ทรัพย์สิน Fire Sale

Money Banner

พื้นที่ โฆษณา