ขั้นตอน การยื่นภาษี หลังจาก ถูกเลิกจ้าง หรือ ลาออก โดยสมัครใจ

ขั้นตอน การยื่นภาษี หลังจาก ถูกเลิกจ้าง หรือ ลาออก โดยสมัครใจ

ในการลาออกจากงานไม่ว่าจะลาออกด้วยความสมัครใจ หรือ ถูกเลิกจ้างกระทันหันด้วยสาเหตุ ใด ก็ตาม เรามักจะได้รับ เงินชดเชย การจ้างออก ตามกฏหมายแรงงาน และ เงิน จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งเรา จะต้องแสดงต่อ หรือ ยื่นแบบ ภงด 90 เสียภาษี รายได้บุคคลธรรมดา ประจำปีภาษี โดย การยื่นแบบ จะขึ้นอยู่กับ อายุงาน ที่ทำด้วยเช่นกัน 

 

 

 

 

ออกจากงาน เรายื่นภาษี อย่างไร ให้ถูกต้อง

 

การยื่นภาษี กรณี ออกจากงานด้วยความสมัครใจ  

 

 ออกจากงานโดยความสมัครใจ
ประเภทเงินได้  อายุงานไม่ถึง 5 ปี อายุงานเกิน 5 ปี
 เงินเดือนที่ได้รับ ระหว่างปี  ยื่นแบบ เงินได้ 40(1)  ยื่นแบบ เงินได้ 40(1)
 เงินชดเชยที่ได้รับ ตามอายุงาน  ยื่น รวมกับ เงินเดือน 40(1)  คำนวน ในแบบเหตุออกจากงาน
 เงินที่ได้รับจาก กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ อายุไม่เกิน 55 ปี  ยื่น รวมกับ เงินเดือน 40(1)  คำนวน ในแบบเหตุออกจากงาน
 เงินที่ได้รับจาก กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ อายุเกิน 55 ปี  ยื่น รวมกับ เงินเดือน 40(1)  ไม่ต้องนำมาคำนวณ (ได้รับการยกเว้น)

 

 

 

การยื่นภาษี กรณี ถูกไล่ออก หรือ ถูกบังคับให้ออกจากงาน โดยไม่สมัครใจ

 

 

 ออกจากงานโดย ไม่สมัครใจ
ประเภทเงินได้  อายุงานไม่ถึง 5 ปี อายุงานเกิน 5 ปี
 เงินเดือนที่ได้รับ ระหว่างปี  ยื่นแบบ เงินได้ 40(1)  ยื่นแบบ เงินได้ 40(1)
 เงินชดเชยที่ได้รับ ตามอายุงาน ได้รับการยกเว้น 300 วันสุดท้าย
แต่ไม่เกิน 3 แสนบาท
ได้รับการยกเว้น 300 วันสุดท้าย
แต่ไม่เกิน 3 แสนบาท
 เงินที่ได้รับจาก กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
อายุไม่เกิน 55 ปี
 ยื่น รวมกับ เงินเดือน 40(1)  คำนวน ในแบบเหตุออกจากงาน
 เงินที่ได้รับจาก กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
อายุเกิน 55 ปี
 ยื่น รวมกับ เงินเดือน 40(1)  ไม่ต้องนำมาคำนวณ (ได้รับการยกเว้น)

 

 

 

 

 

กรมสรรพากร แนะการยื่นภาษี เมื่อออกจากงาน ทั้งลาออก หรือเกิดเหตุที่คาดไม่ถึง

 

 

เอกสารที่ใช้ยื่นแบบ

-หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย 50 ทวิ

-เอกสารรับรองอายุการทำงาน

-เอกสารรับรองเงินเดือน ย้อนหลัง 12 เดือนสุดท้ายก่อนออก

 

Money Banner

พื้นที่ โฆษณา