สภาอุตสาหกรรมฯ ผลักดัน สินเชื่อ ฟื้นฟู ธุรกิจ ที่ได้รับผลกระทบโควิด

สภาอุตสาหกรรมฯ ผลักดัน สินเชื่อ ฟื้นฟู ธุรกิจ ที่ได้รับผลกระทบโควิด

 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดย สถาบัน SMI ผลักดัน ธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาตรการทางการเงินเพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19

 

โดยแบ่งมาตรการเป็น 2 หมวด ตามลักษณะปัญหาที่ต่างกัน ดังนี้



1. สินเชื่อฟื้นฟู

หรือ มาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจ วงเงิน 250,000 ล้านบาท มุ่งเน้นให้สถาบันการเงินส่งผ่านสภาพคล่องดังกล่าวแก่ผู้ประกอบธุรกิจ SMEs ที่ได้รับผลกระทบแต่ยังมีศักยภาพ

ซึ่งได้ปรับปรุงข้อจำกัดจากมาตรการครั้งที่แล้ว

ขยายขอบเขตลูกหนี้ให้ครอบคลุมทั้งลูกหนี้รายเดิมและลูกหนี้รายใหม่ที่ไม่มีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงิน
ปรับเพิ่มวงเงินกู้ให้สูงขึ้น (ลูกหนี้รายเดิม 30% ของวงเงินกู้แต่ไม่เกิน 150 ล้านบาท / ลูกหนี้รายใหม่ขอกู้ได้ในวงเงินไม่เกิน 20 ล้านบาท)
ขยายระยะผ่อนชำระให้ยาวขึ้น (ระยะเวลาสินเชื่อ 5 ปี ระยะเวลาค้ำประกัน 10 ปี)
อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยไม่เกิน 5% ต่อปี


2. โครงการพักทรัพย์ พักหนี้





หรือ มาตรการสนับสนุนการรับโอนทรัพย์ชำระหนี้ และให้สิทธิลูกหนี้ซื้อคืน วงเงิน 100,000 ล้านบาท มุ่งเน้นในการช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบรุนแรง ต้องใช้เวลานานในการฟื้นตัว แต่ยังมีศักยภาพและมีทรัพย์สินเป็นหลักประกัน


ผู้ประกอบธุรกิจมีสิทธิซื้อทรัพย์คืนเป็นลำดับแรกในราคาต้นทุน ภายในระยะเวลา 3-5 ปี เท่ากับราคาตีโอนบวกด้วยต้นทุนการถือครองทรัพย์ (carrying cost) ร้อยละ 1 ต่อปีของราคาตีโอน

Money Banner

พื้นที่ โฆษณา