พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ จัดประเภทการใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเป็น 3 ประเภท

พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ จัดประเภทการใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเป็น 3 ประเภท

เกษตรกรไม่ต้องกังวล รัฐไม่เก็บค่าน้ำภาคเกษตร 2 ปี สทนช. ยืนยันว่า จะไม่ปล่อยให้เกิดภาระซ้ำเติมเกษตรกรอย่างแน่นอน


--------------------------------------
✅✅ นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ชี้แจงกรณี มีข้อวิจารณ์เรื่องการเก็บค่าน้ำภาคเกษตรกรรมตาม พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ พ.ศ.2561 ซึ่งจะไปเพิ่มต้นทุนให้เกษตรกรผู้มีรายได้น้อย


🔶🔶 ยืนยันว่ายังไม่มีการจัดเก็บในช่วง 2 ปีจากนี้ อย่างแน่นอน ยังต้องผ่านการพิจารณาอย่างรอบคอบ ฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่ และหารือกับคณะกรรมการลุ่มน้ำให้ได้ข้อสรุป เพื่อให้อัตราค่าใช้น้ำในอนาคตถูกต้องตามหลักการ โปร่งใส และเป็นธรรม


🚩🚩 อัตราค่าใช้น้ำและรูปแบบการจัดเก็บจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสภาพและความพร้อมของแต่ละพื้นที่ ไม่ใช่การจัดเก็บเพื่อแสวงหากำไร และจะไม่ให้เกิดภาระซ้ำเติมเกษตรผู้มีรายได้น้อย แต่เป็นการจัดเก็บที่เป็นธรรมเพื่อให้ผู้ใช้น้ำทุกรายวางแผนการใช้น้ำอย่างเหมาะสม

 

 


📌📌 พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ จัดประเภทการใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเป็น 3 ประเภท คือ

1. การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเพื่อการดำรงชีพ

การอุปโภคบริโภคในครัวเรือน การเกษตรหรือการเลี้ยงสัตว์เพื่อยังชีพ การอุตสาหกรรมในครัวเรือน การรักษาระบบนิเวศ จารีตประเพณี การบรรเทาสาธารณภัย การคมนาคม และการใช้น้ำในปริมาณเล็กน้อย


2. การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเพื่อการอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การผลิตพลังงานไฟฟ้า การประปาและกิจการอื่น


3. การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะ เพื่อกิจการขนาดใหญ่ที่ใช้น้ำปริมาณมาก หรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบข้ามลุ่มน้ำ หรือครอบคลุมพื้นที่อย่างกว้างขวาง


📣📣 การใช้น้ำประเภทที่หนึ่ง

ในส่วนของการอุปโภคบริโภคเพื่อยังชีพจะไม่มีการเก็บค่าใช้น้ำ ส่วนการใช้น้ำเพื่อการเกษตรหรือการเลี้ยงสัตว์เพื่อยังชีพ มีหลักเกณฑ์ คือ การทำการเกษตรในรอบแรกของปีจะไม่มีการเก็บค่าใช้จ่าย ไม่ว่าเกษตรกรจะเพาะปลูกหรือมีพื้นที่ทำการเกษตรจำนวนกี่ไร่ก็ตาม


💢💢 ในช่วงฤดูแล้งที่มีความจำเป็นต้องสำรองน้ำต้นทุน เพื่อการอุปโภคบริโภค การรักษาระบบนิเวศ และการผลักดันน้ำเค็ม ดังนั้น การเพาะปลูกข้าวรอบสองเป็นจำนวนมากอาจส่งผลให้ขาดแคลนน้ำ


💥💥 จึงวางแนวทางว่า การทำนารอบสองที่มีพื้นที่มากกว่า 66 ไร่ขึ้นไป ต้องเสียค่าใช้น้ำเพื่อสร้างจิตสำนึกและปรับพฤติกรรมให้ลดการใช้น้ำในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งข่อมูลระบุว่าเกษตรกรที่เข้าข่ายมีเพียง 4.6% ของจำนวนครัวเรือนเกษตรกรทั้งประเทศ

Money Banner

พื้นที่ โฆษณา