เลิกจ้าง หรือ สั่งกักตัว เพราะเหตุ โควิด นายจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชย

เลิกจ้าง หรือ สั่งกักตัว เพราะเหตุ โควิด นายจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชย

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานชี้แจงประเด็นข้อสงสัย กรณีนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเพราะสาเหตุติดเชื้อไวรัสโควิด-19  มิได้ถือเป็นความผิดร้ายแรงที่เกิดจากการกระทำของลูกจ้าง ลูกจ้างจึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย

 

 

นายจ้าง สั่งให้ลูกจ้าง กักตัว 14 วัน นายจ้างต้องจ่ายค้าจ้าง ให้กับลูกจ้าง

นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวชี้แจงว่า ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID – 19 ที่ขยายวงกว้างเข้าสู่สถานประกอบกิจการ เป็นความห่วงใยที่พลเอก ประวิตร วงศ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน กำชับให้ความคุ้มครองดูแลให้ความเป็นธรรมแก่ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากติดเชื้อไวรัสดังกล่าว หรือมีความเสี่ยงที่ต้องกักตัวเพื่อเฝ้าดูอาการ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้รับความช่วยเหลือ รักษา เยียวยา โดยนายสุชาติ  ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน สั่งการให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานทำความเข้าใจกับนายจ้าง เจ้าของสถานประกอบกิจการให้ทราบว่า

กรณีที่สถานประกอบกิจการออกประกาศห้ามลูกจ้างเดินทางข้ามจังหวัดหรือเดินทางเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงที่อาจเกิดการติดเชื้อไวรัสโควิด – 19 แต่ภายหลังทราบว่าลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าว จนเป็นเหตุให้นายจ้างสงสัยได้ว่าลูกจ้างเสี่ยงต่อการติดเชื้อ จึงมีคำสั่งไม่ให้ลูกจ้างมาทำงานและให้กักตัว ณ ที่พักอาศัยเป็นเวลา 14 วัน เพื่อเฝ้าดูอาการ นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้าง เพราะคำสั่งให้ลูกจ้างกักตัวเป็นคำสั่งให้หยุดงานเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง จะถือว่าการปฏิบัติตามคำสั่งของนายจ้างดังกล่าวเป็นการขาดงานหรือละทิ้งหน้าที่ของลูกจ้างไม่ได้


สปสช กำหนดแนวทางการจ่ายเงินให้ ผู้แพ้วัคซีน โควิด 19

วิธีเช็ค เครดิตบูโร ว่าแบบไหนกู้ได้ แบบไหน กู้ไม่ผ่าน

ประกันสังคม จ่ายเงินเยียวยา 50% ช่วยลูกจ้าง-นายจ้าง กระทบโควิด‼


การกักตัว หรือ รักษา โควิด ให้ใช้ สิทธ์ การลาป่วย หรือ ลาพักร้อน ได้ตามปกติ 

 

ทั้งนี้ นายจ้างอาจตกลงกับลูกจ้างให้ใช้สิทธิการลาป่วย หรือการหยุดพักผ่อนประจำปี 

 

กาเลิกจ้าง เพราะเหตุ ติดเชื้อโควิด ต้องจ่ายค่าชดเชย

หากนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุลูกจ้างติดเชื้อโรคดังกล่าวหรือสงสัยว่าลูกจ้างติดเชื้อ มิได้ถือเป็นความผิดร้ายแรงที่เกิดจากการกระทำของลูกจ้าง เพราะการเจ็บป่วยเป็นเหตุที่เกิดขึ้นตามสภาพของร่างกายโดยธรรมชาติมิใช่การกระทำผิดวินัยของลูกจ้างและเป็นการติดเชื้อจากโรคระบาดที่แพร่กระจายในวงกว้าง ลูกจ้างจึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย

 

ขอให้นายจ้าง และ ลูกจ้าง ให้ความร่วมมือ ในการป้องกันการแพร่ระบาด

 

อธิบดี กสร. กล่าวเพิ่มเติมว่าการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 ซึ่งเป็นภัยร้ายแรงที่กระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม ในวงกว้าง นายจ้าง ลูกจ้าง และผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรจะต้องให้ความร่วมมือกันในการป้องกันการแพร่ระบาดดังกล่าวให้ยุติโดยเร็ว ซึ่งจะส่งผลดีต่อสังคมโดยรวม ทั้งนี้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้ออกประกาศ เรื่องแนวทางในการเฝ้าระวังการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ในสถานประกอบกิจการ ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เพื่อเป็นแนวทางการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 นายจ้างและลูกจ้างควรร่วมมือปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวเพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมมิให้มีการแพร่ระบาดต่อไป


ตารางเปรียบเทียบประกันโควิด 

Money Banner

พื้นที่ โฆษณา