การยื่นภาษีออนไลน์ สำหรับพ่อค้าแม่ค้า และ การส่งข้อมูล E-Payment

การยื่นภาษีออนไลน์ สำหรับพ่อค้าแม่ค้า และ การส่งข้อมูล E-Payment

5 เรื่องต้องรู้ ภาษี กับการขายของออนไลน์ ทั้งการขายสินค้า การรีวิวสินค้า การทำคลิปต่างๆ หากมีรายได้ เข้ามาไม่ว่าทางไหน ก็จะต้องยื่นภาษี โดยแสดงรายได้ ตามาตรา 40(8)  และ หาก มีการ โอนเงิน ผ่านบัญชีเกิน 400 ครั้ง หรือ 2 ล้านบาท/ปี จะถูกธนาคาร นำข้อมูล ส่ง กรมสรรพกร ตามหลัก E-Payment

 


การเลือกรูปแบบการประกอบธุรกิจ

1. เป็นบุคคลธรรมดา


ก็ เหมาะสำหรับมือใหม่ เริ่มต้นขาย ยังไม่มีรายได้ มาก ธุรกิจ ยังไม่มั่นคง เท่าที่ควร การเป็นบุคคลธรรมดา ทำให้ไม่ต้องจดทะเบียน แต่ ก็ยังคงต้องเสียภาษี นะ

 

ข้อดี ข้อเสีย ของการค้าขายออนไลน์ แบบ บุคคลธรรมดา 


1. มีอิสระคล่องตัว ตัดสินใจได้รวดเร็ว 

2. เงินลงทุนจากเจ้าของ คนเดียว 

3. รับ-กำไรขาดทุน  คนเดียว

4. จัดตั้งง่าย ไม่ยุ่งยาก 

5. ขาดความน่าเชื่อถือ

 6. หาเงินทุน หรือ ขอสินเชื่อยาก

 7. ทำรายงาน เพียงแค่ เงินสด รับ - จ่าย 

8. เสียภาษี ในอัตราก้าวหน้า ตามรายได้ ต่อปี สูงสุด 35% 

9.  หักลดหย่อนภาษี แบบเหมาจ่ายได้ 60%

 

2. ประเภทกิจการ แบบนิติบุคคล   

 

ไม่ว่าจะเป็น หจก หรือ บริษัท จำกัด ถือ เป็นนิติบุคคล หรือ บุคคลตามกฏหมาย เป็น ส่วนใหญ่ที่ทำกัน จะจดทะเบียนเป็นรูปบริษัท ใส่ชื่อ ญาติพี่น้องเป็นผู้ถือหุ้น สัก คนละ 1% แล้ว ที่เหลือ เป็นของเจ้าของ คนเดียว อะไรแบบนั้น เรื่องการจดทะเบียน สามารถติดต่อ บริษัท รับจดทะเบียน 

 

ข้อดี ข้อเสีย ของการ จดทะเบียน ค้าขายออนไลน์ เป็น นิติบุคคล

1.  มีความน่าเชื่อถือสูง

2. ทำให้สามารถ ยื่นขอกู้ เพื่อนำมาเป็นเงินลงทุนได้สะดวกขึ้น 

3.  สามารถนำค่าใช้จ่าย ในการดำเนินการ มาหักส่วนลดภาษีได้

4.  ภาษี คำนวณ จากกำไรสุทธิ์  และ มีอัตราสูงสุด แค่ 20% 

5.  ต้อง จดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม 

6.  ต้องมีระบบบัญชี ที่ถูกต้อง และมี ผู้ตรวจสอบรับรอง ตามมาตราฐาน การบัญชี ที่กรมสรรพกร รับรอง 


วีธี ยืนภาษีขายของออนไลน์ Youtuber และ Influencer

ขั้นตอน การยื่นภาษี หลังจาก ถูกเลิกจ้าง หรือ ลาออก โดยสมัครใจ

 

 

รูปแบบการเสียภาษี จากการขายของ ออนไลน์

 


1. ภาษี สำหรับ บุคคลธรรมดา


เงินได้จากการขายของออนไลน์ รวมถึงการทำช่อง ใน Youtube หรือรายได้อื่นๆ จัดเป็น เงินได้ ตามมาตรา 40(8)   เงินได้จากธุรกิจการพาณิชย์   ต้องนำรายได้ มายื่นแบบ 2 ครั้ง ดังนี้ 

1.1 ภ.ง.ด. 90   

นำรายได้ ระหว่างเดือน ม.ค-ธ.ค. มายื่นระหว่างเดือน ม.ค,-มี.ค. ของปีถัดไป 

1.2 ภ.ง.ด. 94 เรียกกว่า "ภาษีครึ่งปี" 

นำรายได้ ระหว่างเดือน ม.ค. - มิ.ย. มายื่น ระหว่างเดือน ก.ค. - ก.ย ของแต่ละปี 






2.  ภาษีเงินได้ นิติบุคคล


2.1  ภ.ง.ด. 51  

 


    นำรายได้ระหว่าง เดือน ม.ค.-มิ.ย. มายื่นภายนใน 2 เดือน นับจากวันสุดท้ายของ 6 เดือนแรกของปี 

2.2  ภ.ง.ด.  50  

    นำรายได้ ระหว่างเดือน ม.ค-ธ.ค. มายื่น ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี " แม้ไม่มีรายได้ก็ต้องยื่น " 

3.  ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat)

หากผู้ประกอบการ มีรายได้เกิน 1.8 ล้าน/ปี จะต้องจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่ วันที่ มีรายได้เกิน และจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ทุกวันที่ 15 ของแต่ละเดือน ด้วยการ ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 30  

 

 




3. การส่งข้อมูล ขายของออนไลน์ ให้กรมสรรพกร ตามกฏหมายภาษี E-Payment

 


E-Payment คือรูปแบบการจ่ายเงินทางอิเล็กทรอนิคส์ โดยมีอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อสาร รวมถึงการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านบัตรเครดิตอีกด้วย  

สรุปง่ายๆ คือ ใครก็ตามที่มี การใช้จ่ายเงิน แบบออนไลน์ รวมบัตรเครดิตด้วย เกินกว่าที่กำหนด ธนาคาร จะเป็นผู้รวบรวมข้อมูล ที่เข้าเงื่อนไข  ส่งข้อมูล เข้า กรมสรรพกร



เงื่อนไขการส่งข้อมูล E-payment 

 


1. รับ/ฝากเงิน เกิน 400 ครั้ง และ  มีจำนวน รวมเกิน 2 ล้านบาท / ปี 

2. การรับฝากเงิน เกิน 3,000 ครั้ง โดยไม่สนใจว่า ยอดเงินที่เข้าออก จะมากน้อยแค่ไหน

ขั้นตอนการส่งข้อมูลให้กรมสรรพกร 

1. ส่งข้อมูล แยกเป็นรายธนาคาร ไม่ใช่รวมทุกธนาคาร

2. แต่ละธนาคาร ดูรวมทุกบัญชี ที่มีในธนาคารนั้นๆ เท่านั้น และ ต้อง เกิน 3,400 ครั้ง + 2 ล้านบาท ต้องครบทั้ง 2 เงื่อนไข

 


ต่อให้ไม่ถูกส่งข้อมูล ก็อาจจะถูกตรวจสอบได้เสมอ



การทำรายรับ - รายจ่าย ของกิจการ ต้องชัดเจน

 


เมื่อเริ่มประกอบกิจการ ควรจัดทำบัญชี หรือเก็บข้อมูล เอกสาร รายรับ รายจ่าย และลงบันทึก อย่างง่ายๆ เพื่อให้ทราบรายได้ รายจ่าย กำไร ขาดทุน ของกิจการ ไม่ว่าจะเป็นแบบบุคคลธรรมดา หรือ รูปแบบนิติบุคคล ก็ตาม และ ต้องทราบ ที่มาของ รายจ่าย ต่างๆ (คือต้องเก็บบิล ใบเสร็จไว้เป็นหลักฐานตลอด อย่างน้อย 5 ปี)
ผู้ประกอบการ ควรบันทึก รายรับ รายจ่าย ที่เกิดขึ้นจริง ทุกครั้ง เพื่อจะได้ทราบสถานะการเงินที่แท้จริง รวมถึง ประโยชน์ ในการนำรายได้ รายจ่ายที่เกี่ยวข้อง ไปคำนวณ ในการเสียภาษี ให้ถูกต้อง 


เก็บเอกสารหลักฐาน เพื่อพิสูจน์ แก่เจ้าหน้าที่ ยามเมื่อถูกตรวจสอบ

ผู้ประกอบการ บุคคลธรรมดา สามารถเลือกหักภาษ๊ ค่าใช้จ่าย แบบเหมา ในอัตราร้อยละ 60 โดยไม่ต้องแสดงหลักฐาน ค่าใช้จ่ายใดๆ หรือเลือก หักค่าใช้จ่ายตามจริง แต่ต้องแสดงหลักฐานค่าใช้จ่าย หรือต้นทุน เผื่อสรรพกรร้องขอ

ผู้ประกอบการนิติบุคคล ไม่สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา ได้ ดังนั้น จึงต้องเก็บหลักฐานรายจ่าย ต่างๆ เพื่อนำมาประกอบการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล

 

 

 

Money Banner

พื้นที่ โฆษณา