มาตราการเยียวยา ผู้ประกันตัน ประกันสังคม ม.33,39 และ 40 และแรงงานนอกระบบ

มาตราการเยียวยา ผู้ประกันตัน ประกันสังคม ม.33,39 และ 40 และแรงงานนอกระบบ

ครม เคาะ! มาตรการเยียวยา แรงงานและผู้ประกอบการเพิ่มเติม! ครอบคลุมทุกสิทธิ ม.33 ม.39 ม.40 ขยายกิจการเป็น 9 สาขา ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 10 จังหวัด เป็นเวลา 1 เดือน
วันนี้ (13 กรกฎาคม 2564)

 

ครม.เห็นชอบมาตรการช่วยเหลือเร่งด่วน กลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการรัฐ เพิ่มเติมจากมติ ครม. เดิม เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2564 โดยให้ความช่วยเหลือระยะเวลา1 เดือน ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 10 จังหวัด (จากเดิม 6 จังหวัด) คือ

 

เขต พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 29 จังหวัด (จากเดิม 6 จังหวัด) คือ

  1. -กรุงเทพฯ
  2. นครปฐม
  3. นนทบุรี
  4. ปทุมธานี
  5. สมุทรปราการ
  6. สมุทรสาคร
  7. นราธิวาส
  8. ปัตตานี
  9. ยะลา และ
  10. สงขลา
  11. ฉะเชิงเทรา
  12. ชลบุรี
  13. พระนครศรีอยุธยา
  14. กาญจนบุรี
  15. นครนายก
  16. ตาก
  17. โคราช
  18. ประจวบ
  19. ปราจีน
  20. เพชรบุรี
  21. เพชรบูรณ์
  22. ระยอง
  23. ราชบุรี
  24. ลพบุรี
  25. สิงห์บุรี
  26. สมุทรสงคราม
  27. สระบุรี
  28. สุพรรณ
  29. อ่างทอง

หมาเหตุ

13 กรกฏคม 2564 ประกาศ เพียง 10 จังหวัด

20 กรกฏาคม 2564 ประกาศ เพิ่ม อีก 3 จังหวัด ฉะเชิงเทรา ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา

1 สิงหาคม 2564 ประกาศ เพิ่มล็อคดาวน์ อีก 16 จังหวัด  

 

 

ครอบคลุมประเภทกิจการรวม 9 สาขา (จากเดิม 4 กิจการ ) ได้แก่

(1) ก่อสร้าง

(2) ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร

(3) ศิลปะ บันเทิงและนันทนาการ

(4) กิจกรรมบริการด้านอื่นๆ ตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด เพิ่ม 5 หมวดกิจกรรม ได้แก่

(5) ขายส่งและการขายปลีก ซ่อมยานยนต์

(6) ขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า

(7) กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน

(8) กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ และ

(9) ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร สำหรับรูปแบบการให้ความช่วยเหลือมีดังนี้  

 

 

มาตราการเยียวยา แรงงานในระบบ ประกันสังคม

1. ผู้ประกันตนมาตรา 33


-นายจ้างและผู้ประกอบการ รัฐบาลยังคงจ่ายให้นายจ้างตามจำนวนลูกจ้าง 3,000 บาท/หัว/สถานประกอบการ สูงสุดไม่เกิน 200 คน
-ลูกจ้าง จ่ายเพิ่มเป็น 2,500 บาท/คน จากที่ลูกจ้างจะได้รับตามมาตรการช่วยเหลือเดิมเพียง 2,000 บาท/คน

ซึ่งเมื่อรวมกับจ่ายชดเชยเยียวยาร้อยละ 50 ของรายได้ให้ลูกจ้าง สูงสุดไม่เกิน7,500 บาท ระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน ทำให้ผู้ประกันตน ม.33 สัญชาติไทย จะได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐไม่เกิน 10,000 บาท/คน

 

2. มาตราการเยียวยา  ผู้ประกันตน ประกันสังคม ตาม มาตรา 39 และ มาตรา 40


ที่ประกอบอาชีพอยู่ในปัจจุบัน จะได้รับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท/คน สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระ ที่อยู่นอกระบบมาตรา 33 ขอให้ขึ้นทะเบียนกับประกันสังคม (มาตรา 40) ภายในเดือน ก.ค. 64 เพื่อจะได้รับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท/คน

ลดเงินสมทบ ประกันสังคม มาตรา 40 อาชีพอิสระ เป็นเวลา 6 เดือน

สิทธิ์ประโยชน์ ของ ประกันสังคม แต่ละมาตรา 33 39 40



มาตราการเยียยา แรงงาน นอกระบบ ประกันสังคม

กลุ่มผู้ประกอบการ/นายจ้าง กรณีมีลูกจ้าง ให้ขึ้นทะเบียนกับประกันสังคม (ม.33) ภายในเดือน ก.ค. 64

เพื่อที่นายจ้างจะได้รับเงินช่วยเหลือตามจำนวนลูกจ้าง 3,000 บาท/หัว/สถานประกอบการ สูงสุดไม่เกิน 200 คน ซึ่งลูกจ้างสัญชาติไทยจะได้รับเงินช่วยเหลือ 2,500 บาท/คน

กรณีที่ไม่มีลูกจ้าง ให้ลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ภายในเดือนก.ค.นี้ จะได้รับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท/คน

 

 


กลุ่ม ผู้ประกอบการ ที่ลงทะเบียน ถุงเงิน 

 


สำหรับผู้ประกอบการในระบบ ถุงเงิน โครงการ คนละครึ่ง และโครงการ เราชนะ ขยายให้ความช่วยเหลือจากเดิมเฉพาะหมวดร้านอาหารและเครื่องดื่ม เป็น 5 กลุ่ม

  • ร้านอาหารและเครื่องดื่ม
  • ร้าน OTOP
  • ร้านค้าทั่วไป
  • ร้านค้าบริการและ
  • กิจการขนส่งสาธารณะ (ไม่รวมกิจการขนาดใหญ่)

 

  • กรณีที่มีลูกจ้าง ขอให้ขึ้นทะเบียนกับประกันสังคมภายในเดือน ก.ค. 64 เพื่อนายจ้างจะได้รับเงินช่วยเหลือตามจำนวนลูกจ้าง 3,000 บาท/คน/สถานประกอบการ สูงสุดไม่เกิน 200 คนและลูกจ้างสัญชาติไทยจะได้รับเงินช่วยเหลือ 2,500 บาท/คน
  • กรณีที่ไม่มีลูกจ้าง ให้ลงทะเบียนเป็นผู้ประกันสังคม (ม.40) ภายในเดือน ก.ค. 64 เพื่อจะได้รับเงินในอัตรา 5,000 บาทต่อคน
    ความ

 วิธีสมัคร ประกันสังคม เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ง่าย ๆ ด้วยตนเอง

วิธีลงทะเบียน สำหรับ นายจ้าง ที่จะเข้า ร่วมมาตรการรับเงินเยียวยาโควิด-19 จากประกันสังคม

สามารถลงทะเบียนได้ที่ เว็บไซต์ https://empui.doe.go.thภายในระยะเวลา 30 วันหลังจากถูกเลิกจ้าง 

 

ขั้นตอนส่งข้อมูลทะเบียนผู้ประกันตน สำหรับนายจ้าง 

  1. เข้าเว็บไซต์ www.sso.go.th  เลือกหัวข้อ สถานประกอบการ
  2. เลือก "ทะเบียนผู้ประกันตน" กรอกชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน (User-ID)
  3. เลือกดำเนินการ
  4. ขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน/แจ้งรับผู้ประกันตนเข้าทำงาน (สปส.1-03)
  5. บันทึกขึ้นทะเบียนสำหรับผู้ที่เคยมีบัตรรับรองสิทธิแล้ว
  6. แจ้งสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน (สปส.6-09)
  7. แจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูลผู้ประกันตน (สปส.6-10)
  8. ส่งข้อมูลทะเบียนด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (สปส.1-04)
 

ขั้นตอนการส่งข้อมูลเงินสมทบ

  1. เข้าเว็บไซต์ www.sso.go.th เลือกหัวข้อ สถานประกอบการ
  2. เลือกเมนู ทะเบียนผู้ประกันตน กรอกชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน (User-ID)
  3. เลือกวิธีการยื่นข้อมูลการส่งเงินสมทบ
  4. ส่งเงินสมทบแบบแยกยื่น (สปส.1-10)
  5. ส่งเงินสมทบแบบยื่นรวมสาขา (สปส.1-10/1)
  6. เลือกสถานประกอบการ (เลขที่บัญชีนายจ้าง และลำดับที่สาขา)
  7. เลือกวิธีการนำส่งข้อมูล (งวดเดือน ปี พ.ศ.) และเลือกวิธีการนำส่งข้อมูลการส่งเงินสมทบ
  8. กรอกข้อมูล (กรอกเลขบัตรประชาชน และค่าจ้าง)
  9. แนบไฟล์ (เลือกรูปแบบไฟล์ และไฟล์เงินสมทบที่จะนำส่งเงินสมทบ)

 

 

ประกันสังคม เยียวยา ลูกจ้าง และ นายจ้าง เพิ่ม อีก 3 จังหวัด ฉะเชิงเทรา ชลบุรี อยุธยา

20 ก.ค. 2564  

 

ครม.เห็นชอบขยายพื้นที่ เยียวยา ผู้ประกอบการและลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการ โควิด ล่าสุด! จาก 10 จังหวัด เป็น 13 จังหวัด เพิ่มฉะเชิงเทรา ชลบุรี อยุธยา

ครม. เห็นชอบการขยายขอบเขตมาตรการบรรเทาผลกระทบและให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการที่อยู่ในพื้นที่สถานการณ์ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ วันที่ 13 ก.ค. 64 ให้ครอบคลุมพื้นที่จากเดิม 10 จังหวัด เป็น 13 จังหวัด เพิ่มเติมจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และอยุธยา โดยยังคงกลุ่มลูกจ้างและผู้ประกอบการใน 9 กลุ่มกิจการที่ได้รับผลกระทบ อัตราการจ่ายและวิธีการจ่ายเงินเช่นเดิมเป็นระยะเวลา 1 เดือน ทั้งนี้ ครม.ยังได้เห็นชอบการปรับปรุงถ้อยคำในมาตรการให้ความช่วยเหลือ เพื่อให้กระทรวงแรงงานสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ติดตาม ข่าวสารประกันสังค มาตราการเยียวยา

Money Banner

พื้นที่ โฆษณา