ถามตอบ ปัญหาข้อใจ ประกันสังคม เยียวยา วันไหน

ถามตอบ ปัญหาข้อใจ ประกันสังคม เยียวยา วันไหน

ถามตอบ ปัญหาข้อใจ  ประกันสังคมมาตรา 40 มาตรา 39 และ เงินเยียวยาประกันสังคม เริ่มจ่ายวันไหน 

 

สมัครใหม่มาตรา 40  ต้องทำอย่าไรบ้าง

ต้องมีคุณสมบัติคือ สัญชาติไทย อายุ 15 - 65 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นลูกจ้างในบริษัท หรือมีนายจ้าง หรือผู้ประกันตน ม.33 ไม่เป็นผู้จ่ายประกันสังคมแบบสมัครใจ หรือผู้ประกันตน ม.39 และไม่เป็นข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ

 

วิธีสมัคร ประกันสังคม เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ง่าย ๆ ด้วยตนเอง

วิธีการ  ผูก พร้อมเพย์ Promptpay กับ เลขบัตรประชาชน

 

เคยสมัครมาตรา 40 แล้ว

เกิดคำถามว่า กรณีแรงงานเคยสมัครมาตรา 40 มาแล้ว แต่ กรณีที่ขาดส่งเงินสมทบ หรือไม่ได้ส่งเงินสมทบต่อเนื่อง จะรักษาสิทธิที่จะรับเงินเยียวยา ต้องทำอย่างไร

สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ชี้แจง สำหรับมาตรา 40 กรณีที่ขาดส่งเงินสมทบ หรือไม่ได้ส่งเงินสมทบต่อเนื่อง จะไม่สิ้นสภาพความเป็นผู้ประกันตน หากประสงค์จะส่งต่อ ให้นำส่งเงินสมทบตั้งแต่เดือนปัจจุบันเป็นต้นไป จะไม่สามารถชำระเงินสมทบย้อนหลัง

 

สรุป คือ ส่งต่อ ได้เลย และมีสิทธิ์ รับเงินเยียวยา ถ้าเข้าหลักเกฎณฑ์ 

 

 

สมัคร เป็นผู้ประกันตน มาตรา 40 จะเสียสิทธิ บัตรทองหรือไม่ 

ผู้ประกันตนมาตรา 40”
ไม่กระทบสิทธิ “บัตรทอง” และบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
สมัครแล้ว ! ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้เพิ่มขึ้นด้วย หากเจ็บป่วย นอนรักษาตัว จะได้ค่าชดเชย วันละ 200 บาท มีเงินบำนาญ ใช้ยามเกษียน หากเสียชีวิต ได้ค่าทำศพ จาก ประกันสังคม 50,000 บาท
 
 
 
 

 

สมัคร เป็นผู้ประกันตน มาตรา 40 จะเสียสิทธิ กยศ ไหม

ประกันสังคม ไม่ใช่ เจ้าหนี้ ไม่ใช่ สินเชื่อ ไม่เกียวข้อง กับ กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ กยศ อันนี้ไม่เสียสิทธิอย่างแน่นอน 

 

คืบหน้า เงินเยียวยา ประกันสังคม โอนเงิน วันไหน

 มาตราการเยียวยา ผู้ประกันตัน ประกันสังคม ม.33,39 และ 40 และแรงงานนอกระบบ

ผู้ประกันตน ม. 33-39 และ ม.40 รัฐเคาะวันจ่ายเงินแล้ว นายจ้างสูงสุดแห่งละ 6 แสนบาท ลูกจ้าง 10 จังหวัด รอรับโอน 2,500 บาท วันที่ 4-6 สิงหาคม 64

วันที่ 20 กรกฎาคม 2564 แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ครม.เห็นชอบขั้นตอนการดำเนินงานการจ่ายเงินเยียวยา กลุ่มประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการประกาศมาตรการล็อกดาวน์ ใน 10 จังหวัด ใน 9 กิจการ ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา จะมีการโอนเงินเข้าบัญชีนายจ้าง ลูกจ้าง ผ่านบัญชีพร้อมเพย์ วันที่ 6 สิงหาคม 2564

 

ส่วนอีก 3 จังหวัด อยุธยา ฉะเชิงเทรา และ ชลบุรี  รอ เข้า ครม. วันที่ 27 กรกฏาคม 2564

 

มาตรา 39 และมาตรา 40 รับโอนเงินเยียวยา 5,000 บาท วันไหน

ล่าสุดวันที่ 10 สิงหาคม ครม. ประกาศ สำหรับ มาตรา 39 และ 40  คนที่ ลงทะเบียน และ จ่าย ให้กับผู้ที่ลงทะเบียน และชำระเงินภายในวันที่ 10 สิงหาคม 2564 จะจ่ายเงิน เยียวยา ประกันสังคม สำหรับ 10 จังวหัดแรก จำนวน 5,000 บาท    ส่วนอีก 16 จังหวัดให้รีบลงทะเบีบน เป็นผู้ประกันตน มาตรา 40 ให้ทัน ภายในวันที่ 24 สิงหาคม 

 

Q : เช็กสิทธิผ่านแล้วแต่เงินยังไม่เข้าบัญชีทำไงดี ?

A : สำหรับใครที่ยังไม่ได้ผูกพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชนเข้ากับบัญชีธนาคารให้รีบไปดำเนินการทันทีหากผูกเรียบร้อยแล้ว เลขไม่ผิด ชื่อไม่เพี้ยนแต่เงินยังไม่เข้าให้ผู้ประกันตนรีบไปติดต่อยังธนาคารโดยด่วนและดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว

ส่วนผู้ประกันตนประกันสังคมมาตรา 40 ในรอบ 2 เขตแดงเข้ม 19 จังหวัดที่สมัครภายในวันที่ 24 สิงหาคม ต้องรอระบบประมวลผลให้เรียบร้อยก่อนถึงจะทราบวันโอนต่อไป

 

Q : เงินไม่เข้า-ไม่ได้รับสิทธิ เกิดจากอะไร ?

A : หลังจากถึงเวลาที่รัฐทยอยโอนเงินเยียวยาเข้าบัญชีพร้อมเพย์แล้วแต่เรายังไม่ได้หรือตรวจสอบสิทธิแล้วขึ้นว่า “ไม่ได้รับสิทธิ” ในกรณีนี้ พื้นฐานสาเหตุอาจเกิดจาก

  • เงินไม่เข้าเนื่องจากไม่ได้จ่ายเงินสมทบ
  • ไม่ได้ผูกบัญชีพร้อมเพย์เข้ากับบัตรประชาชน หรือผูกผิดบัญชี
  • รายชื่ออยู่นอกพื้นที่สีแดงที่กำหนดหรือคุณสมบัติไม่ตรงตามเงื่อนไข
  • ตอนลงทะเบียนอาจสะกดชื่อผิด
  • ชื่อที่ใช้ลงทะเบียนอาจไม่ตรงกับบัตรประชาชน

 

Q : จ่ายเงินสมทบประกันสังคม ม.40 แล้วผ่าน “ตู้บุญเติม” แต่เงินไม่เข้าต้องทำอย่างไร?

A : สำหรับผู้ประกันตน ม.40 ที่เพิ่งขึ้นทะเบียนรายใหม่ ยังต้องรอคิวรับเงินต่อไปเนื่องจากต้องรอระบบฐานข้อมูลอัปเดตรายชื่อก่อน โดยเฉพาะผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบผ่าน “ตู้บุญเติม” ต้องรอเจ้าหน้าที่คัดกรองอีกสักพักเนื่องจากระบบตู้ขึ้นรายชื่อว่า “จ่ายเงินที่กรุงเทพทั้งหมด” เจ้าหน้าที่เลยต้องเช็กใหม่อีกครั้งว่าคุณอยู่ใน 29 จังหวัดจริงหรือไม่

 

Q : ยื่นทบทวนสิทธิประกันสังคมมาตรา 40 ต้องทำอย่างไร?

A : หากเช็กสิทธิแล้วไม่ผ่านจะขึ้นตัวอักษรสีแดงว่า “ไม่ได้รับสิทธิ” ต้องตรวจสอบให้มั่นใจว่าอยู่ในพื้นที่สีแดงเข้มทั้ง 29 จังหวัดหรือเปล่า ดังนี้

  • พื้นที่สีแดงเข้ม 10 จังหวัด 

ได้แก่ กรุงเทพมหานคร, นครปฐม, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, นราธิวาส, ปัตตานี, ยะลา และ สงขลา (ที่สมัครและจ่ายเงินสมทบงวดแรกภายในวันที่ 10 สิงหาคม 2564)

  • พื้นที่สีแดงเข้ม 3 จังหวัด 

ได้แก่ ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี และ พระนครศรีอยุธยา

  • พื้นที่สีแดงเข้ม 16 จังหวัด 

ได้แก่ กาญจนบุรี, ตาก, นครนายก, นครราชสีมา, ประจวบคีรีขันธ์, ปราจีนบุรี, เพชรบุรี, เพชรบูรณ์, ระยอง, ราชบุรี, ลพบุรี, สิงห์บุรี, สมุทรสงคราม, สระบุรี, สุพรรณบุรี และ อ่างทอง (ที่สมัครและจ่ายเงินสมทบงวดแรกในวันที่ 24 สิงหาคม 2564)

จากนั้นให้ดาวน์โหลดเอกสารตามแบบฟอร์มที่สำนักงานประกันสังคมกำหนดและกรอกให้ครบถ้วนส่งให้สำนักงานประกันสังคมผ่านไปรษณีย์

 

 

http://disq.us/p/2ibj3oi

 

Money Banner

พื้นที่ โฆษณา