ผู้ประกันตน ประกันสังคม เสียชีวิต ทายาท จะเบิกสิทธิ อะไรได้บ้าง

ผู้ประกันตน ประกันสังคม เสียชีวิต ทายาท จะเบิกสิทธิ อะไรได้บ้าง

สำหรับผู้ประกันตน ประกันสังคม ทั้ง มาตรา 33 มาตรา 39 และ มาตรา 40 ถ้า ต้องเสียชีวิตลงอย่างกระทันหัน ทายาท จะได้รับเงินค่าชดเชย อะไรบ้าง เป็นจำนวนเท่าไร 

 

ในยุคโควิด 19 ระบาด ทำให้ มีคนเสียชีวิต มากมาย สำหรับ คนที่ทำประกันไว้โดยทั่วไป จะทราบแน่ชัด ว่าคนในครอบครัว หรือ ทายาท ของเรานั้น จะได้รับ เงิน ส่วนไหน อย่างไรบ้าง..แต่ สำหรับ ประกันสังคม เป็นสวัสดิการ ของ รัฐบาล สำหรับ ผู้ใช้แรงงาน ทุกประเภท  นั้น มีการ จ่ายเงินสงเคราะห์ และ ชดเชยอย่างไรบ้าง  และมีขั้นตอนการเบิกจ่าย อย่างไร 

 

วิธีการตรวจสอบ สิทธิ การส่งเงินสมทบ ประกันสังคม มาตรา 33 ,39 และ 40

 

การจ่ายเงิน ชดเชย จะแบ่ง ออกเป็น 3 ส่วน

1. ค่าทำศพ

2. เงินสงเคราะห์ กรณีเสียชีวิต

3. เงินสะสม ชราภาพ หรือ การขอรับประโยชน์ทดแทน

 

1. การเบิกค่า ทำศพ จาก ประกันสังคม

สำหรับประกันสังคม เมื่อ ผู้เอาประกัน เสียชีวิต  ไม่ว่าจะเป็น ผู้เอาประกัน มาตรา 33 มาตรา 39 หรือ มาตรา 40 จะได้รับ เหมือนกัน   โดยแบ่งเป็น 2 กรณี คือ เสียชีวิตในงาน กับ เสียชีวิต นอกเวลางาน อาจจะเป็น เสียชีวิต จากอุบัตเหตุหรือ เจ็บป่วย ก็ตาม 

กรณี เสียชีวิต นอกเวลางาน 

จะสามารถไปเบิกค่าทำศพ  จากประกันสังคม ได้ 50,000 บาท 

 

  1. กรณีที่ผู้ประกันตนถึงแก่ความตายอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก่อนเดือนถึงแก่ความตาย 
  2. สิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกันตนที่จงใจทำให้ตนเองบาดเจ็บ ทุพพลภาพและตาย หรือยินยอมให้ผู้อื่นก่อให้เกิดขึ้น ประโยชน์ทดแทนกรณีตาย ได้แก่         
  • ค่าทำศพ 50,000 บาท โดยจ่ายให้แก่ผู้จัดการศพ ใครคือผู้จัดการศพ
    • (ก) บุคคลซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุให้เป็นผู้จัดการศพและได้เป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน
    • (ข) สามีภริยา บิดามารดา หรือบุตรของผู้ประกันตนซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน 
    • (ค) บุคคลอื่นซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน       

 

แบบฟอร์ม ค่าทำศพ กรณีเสียชีวิต

  • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย >> สปส. 2-01
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้จัดการศพพร้อมตัวจริง
  • หลักฐานจากฌาปนสถานหรือมัสยิดที่แสดงว่าเป็นผู้จัดการศพ
  • สำเนาใบมรณบัตรพร้อมตัวจริง
    • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้จัดการศพ  ดังนี้
      • ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)           
      • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน)           
      • ธนาคารกรุงเทพ  จำกัด (มหาชน)           
      • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)            
      • ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)            
      • ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)             
      • ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)            
      • ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย           
      • ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (จำกัด)  

 ส่วนผู้ประกันตนมาตรา 40 กรณีเสียชีวิต

ถ้าจ่ายเงินสมทบมา 6 ใน 12 เดือน ก่อนเสียชีวิต หรือเสียชีวิตเพราะอุบัติเหตุแล้วจ่ายเงินสมทบมา 1 ใน 6 เดือน ก่อนเสียชีวิต ผู้จัดการศพจะได้รับค่าทำศพดังนี้ส่วนผู้ประกันตนมาตรา 40 กรณีเสียชีวิต ถ้าจ่ายเงินสมทบมา 6 ใน 12 เดือน ก่อนเสียชีวิต หรือเสียชีวิตเพราะอุบัติเหตุแล้วจ่ายเงินสมทบมา 1 ใน 6 เดือน ก่อนเสียชีวิต ผู้จัดการศพจะได้รับค่าทำศพดังนี้


ทางเลือกที่ 1 (จ่าย 70 บาทต่อเดือน) ได้เงินค่าทำศพ 20,000 บาท

ทางเลือกที่ 2 (จ่าย 100 บาทต่อเดือน) ได้เงินค่าทำศพ 25,000 บาท

ทางเลือกที่ 3 (จ่าย 300 บาทต่อเดือน) ได้เงินค่าทำศพ 50,000 บาท

 

กรณี เสียชีวิต ในเวลางาน   ระหว่างการปฏิตบัติหน้าที่ตามคำสั่ง นายจ้าง

เฉพาะ ผู้ประกันตน มาตรา 33  จะได้ รับ เงิน ค่าทำศพ จาก กองทุนเงินทดแทน  เพิ่มจาก ส่วนของ ประกันสังคม อีก 50,000 บาท

 


2. เงินสงเคราะห์กรณีที่ผู้ประกันตนเสียชีวิต

 

 

ประกันสังคมจะจ่ายให้บุคคลซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์นั้น แต่ถ้าผู้ประกันตนไม่ได้ระบุไว้ก็ให้นำมาเฉลี่ยจ่ายให้กับ คู่สมรส บิดามารดา หรือทายาทของผู้ประกันตนในจำนวนที่เท่ากัน ดังนี้

เงินสงเคราะห์ ประกันสังคมมาตรา 33 หรือ 39

 

  • ถ้าก่อนเสียชีวิต ผู้ประกันตนได้ส่งเงินสมทบ 36 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 120 เดือน ให้จ่ายเงินสงเคราะห์เป็นจำนวนเท่ากับ ค่าจ้างเฉลี่ย 2 เดือน
  • ถ้าก่อนถึงแก่ความตายผู้ประกันตนได้ส่งเงินสมทบมาแล้ว ตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไป ให้จ่ายเงินสงเคราะห์เท่ากับ ค่าจ้างเฉลี่ย 6 เดือน

เงินสงเคราะห์ ประกันสังคม มาตรา 40

 

กรณีจ่ายประกันสังคมมาตรา 40 แบบทางเลือกที่ 1 และทางเลือกที่ 2 หากจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 60 เดือน ก่อนเดือนที่เสียชีวิต จะได้รับเงินสงเคราะห์ 8,000 บาท

 สำหรับ ผู้ประกันตน มาตรา 40 ทางเลือก ที่ 3 จะได้รับ จะได้รับ เงินสงเคราะห์ 

ขั้นตอน ติดต่อประกันสังคม กรณีขอรับเงินสงเคราะห์

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย (สปส. 2-01)      
  2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของ ผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์      
  3. สำเนาทะเบียนสมรสของผู้ประกันตนและของบิดามารดาของผู้เสียชีวิต (ถ้ามี)      
  4. สำเนาสูติบัตรของบุตร หรือ สำเนาทะเบียนบ้านของบุตรกรณีไม่มีสูติบัตร      
  5. หนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์กรณีตาย (ถ้ามี)

3. เงินบำเหน็จชราภาพ ประกันสังคม

สำหรับมาตรา 33 มาตรา 39  และ มาตรา 40 เฉพาะ ทางเลือกที่ 2 และ ทางเลือก ที่ 3
  • กรณีแรก ถ้าผู้ประกันตน เสียชีวิตก่อน 55 ปี แล้วจ่ายสมทบน้อยกว่า 12 เดือน ผู้รับประโยชน์จะได้ประโยชน์ทดแทนแบบบำเหน็จชราภาพเป็นจำนวนเงินเท่ากับเงินสมทบ ที่ผู้ประกันตนจ่าย
  • กรณีที่สอง ถ้าผู้ประกันตน เสียชีวิตก่อน 55 ปี แล้วจ่ายสมทบมากกว่า 12 เดือน ผู้รับประโยชน์จะได้ประโยชน์ทดแทนแบบบำเหน็จชราภาพเป็นจำนวนเงินเท่ากับเงินสมทบ ที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่าย
  • กรณีสุดท้าย หากผู้ประกันตน เสียชีวิตภายใน 5 ปี หลังรับสิทธิบำนาญชราภาพ ผู้รับประโยชน์จะได้ประโยชน์ทดแทนเป็นเงิน 10 เท่าของเงินบำนาญรายเดือน

 เงิน ชราภาพ ประกันสังคม เบิกก่อนได้ไหม และมีสิทธิอะไรบ้าง 

ขั้นตอนการขอรับประโยชน์ทดแทน

 

  1. ผู้จัดการศพผู้มีสิทธิต้องกรอกแบบ สปส. 2-01 พร้อมลงลายมือชื่อและนำมายื่นที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา หรือยื่นขอรับทางไปรษณีย์ โดยมีหลักฐานครบถ้วน

  2. เจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐานและพิจารณาอนุมัติ

  3. สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา

 

 

การมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทน

 

  1. หนังสือมอบอำนาจ      

  2. บัตรประจำตัวประชาชน ฉบับจริงของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ      

  3. หนังสือแจ้งผลการพิจารณาจากสำนักงานประกันสังคม      

  4. การยื่นคำร้องขอรับค่าทำศพ สามารถยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ /สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข) ในการยื่นคำร้อง

 

 

ถามตอบ ปัญหาข้อใจ ประกันสังคม เยียวยา วันไหน

วิธีสมัคร ประกันสังคม เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ง่าย ๆ ด้วยตนเอง

สิทธิ์ประโยชน์ ของ ประกันสังคม แต่ละมาตรา 33 39 40

 

Money Banner

พื้นที่ โฆษณา