คงอัตรา ภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง อัตราเดิมเริ่มปีภาษี 65-66

คงอัตรา ภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง อัตราเดิมเริ่มปีภาษี 65-66

ครม.ไฟเขียว! คงอัตรา ภาษีที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง อัตราเดิมเริ่มปีภาษี 65-66 เพื่อให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ


คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบคงอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในอัตราเดิม ตามบทเฉพาะกาล ม.94 แห่ง พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 สำหรับการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตั้งแต่ปีภาษี 2565 และอนุมัติหลักการร่าง พ.ร.ฎ. กำหนดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. .... โดยมอบหมายให้กระทรวงการคลังพิจารณาทบทวนอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างภายหลังการใช้อัตราภาษีตามร่าง พ.ร.ฎ. ดังกล่าวไปแล้ว 2 ปี ในปีภาษี 2567 เพื่อให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
 
สืบเนื่องจาก พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 กำหนดให้ 2 ปีแรกของการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปีภาษี 2563 – 2564 ให้ใช้อัตราภาษีตามมูลค่าของฐานภาษีที่จะใช้อยู่ในปัจจุบันจะครบกำหนดระยะเวลาในปีภาษี 2564 ในวันที่ 31 ธันวาคม 2564 คณะรัฐมนตรึจึงมีมติอนุมัติหลักการร่าง พ.ร.ฎ.กำหนดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. .... เพื่อเป็นการกำหนดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตั้งแต่ปีภาษี 2565 เป็นต้นไป
 

โดยคงอัตราภาษีแบบเดิมเช่นเดียวกับปีภาษี 2563 และ 2564 มีสาระสำคัญ ดังนี้


1.การประกอบเกษตรกรรม อัตราภาษีที่จัดเก็บในปัจจุบัน ร้อยละ 0.01 – 0.1
2.ที่อยู่อาศัย อัตราภาษีที่จัดเก็บในปัจจุบัน ร้อยละ 0.02 – 0.1
 
2.1 ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา อัตราภาษีที่จัดเก็บในปัจจุบัน ร้อยละ 0.03 – 0.1
2.2 สิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นที่อยู่อาศัยและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน อัตราภาษีที่จัดเก็บในปัจจุบัน ร้อยละ 0.02 – 0.1
2.3 ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัยกรณีอื่นนอกเหนือจาก 2.1 และ 2.2 อัตราภาษีที่จัดเก็บในปัจจุบัน ร้อยละ 0.02 – 0.1
 
3.การใช้ประโยชน์อื่นนอกเหนือจากข้อ 1 และข้อ 2 อัตราภาษีที่จัดเก็บในปัจจุบัน ร้อยละ 0.3 – 0.7
4.ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ อัตราภาษีที่จัดเก็บในปัจจุบัน ร้อยละ 0.3 – 0.7
 
ทั้งนี้ การคงอัตราภาษีแบบเดิมเช่นเดียวกับปีภาษี 2563 และ 2564 ไปอีกระยะหนึ่งก่อน เพื่อให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้กับผู้เสียภาษี และเพื่อให้ผู้เสียภาษีได้มีระยะเวลาในการปรับตัวสำหรับการชำระภาษีในอัตราที่แท้จริง

 

ที่อยู่อาศัย ไม่เกิน 50 ล้านบาท ได้รับการยกเว้น ไม่เก็บ ภาษีที่ดิน

แต่ยกเว้นให้เฉพาะที่อยู่อาศัยหลังแรกเท่านั้น

ดังนั้น ใครที่มีที่อยู่อาศัยหรือบ้านหลายๆ หลังก็ย้ายชื่อตนเองเข้าไปในทะเบียนบ้านที่มีมูลค่าสูงที่สุดที่ไม่เกิน 50 ล้านบาท เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียภาษีที่ดินฯ สำหรับบ้านที่มีมูลค่าสูง

ซึ่งการที่พระราชบัญญัติกำหนดให้ที่ดินและสิ่งปลุกสร้างที่มีมูลค่ารวมกันไม่เกิน 50 ล้านบาทไม่ต้องเสียภาษีที่ดินฯ นั้น เท่ากับว่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เป็นที่อยู่อาศัยทั่วไปไม่ต้องเสียภาษีที่ดินฯ เลย

ยกเว้นคนที่มีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นที่อยู่อาศัยที่มีมูลค่าเกิน 50 ล้านบาท ซึ่งภาระภาษีที่ดินฯ สำหรับพวกเขาคงไม่ใช่เรื่องใหญ่เท่าใด

รวมไปถึงคนที่มีบ้านหรือที่อยู่อาศัยมากกว่า 1 หลังหรือมีที่ดินในครอบครองไว้เยอะ

 

 

ถามตอบ ปัญหา ภาษี e-Service คืออะไร มีผลกระทบอะไรบ้าง

อัตราการจัดเก็บ ภาษี ที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง

ประเภทเงินได้บุคคลธรรมดา ตามหลักการภาษี

 

คอนโด ลุมพินี พาร์ค เพชรเกษม 98 เฟส 2 ใกล้ The Mall บางแค

 

 

เทคนิค การเลือก ซื้อประกัน เพื่อการ ลดหย่อนภาษี สูงสุด


 

 

Money Banner

พื้นที่ โฆษณา