ธกส พักชำระหนี้ ยาวถึงปี 2566 ให้ เกษตรกร กู้เพิ่ม ฟื้นฟู พักทรัพย์

ธกส พักชำระหนี้ ยาวถึงปี 2566 ให้ เกษตรกร กู้เพิ่ม ฟื้นฟู พักทรัพย์

ธกส พักชำระหนี้ ยาวถึงปี 2566 เพื่อ ช่วยเหลือเกษตรกร จาก โควิด 19 รอบที่ 3   อัดเต็มที่ ทั้งให้พักชำระหนี้ และ ฟื้นฟู พักทรัพย์

 

เนื่องจากโควิด ระลอก 3  ทำให้ เกษตรกร และ ผู้ปอบการ SME จำนวนมากได้รับความเดือด ร้อน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์  หรือ ธ.ก.ส.  จึงได้ออกมาตรการ สินเชื่อ ฟื้นฟู เพื่อ เสริม สภาพคล่อง และ มาตรการ พักทรัพย์ พักหนี้ เพื่อช่วย ผู้ประกอบการ SMEs เกษตร และ สถาบันเกษตรกร ไม่ให้ ถูก กดราคา บังคับขาย ทรัพย์สิน เพื่อให้สามารถ กลับมา สร้างงาน และ ทำรายได้ เมื่อ สถานการณ์ ไวรัสโควิด 19 ระบาด ได้คลี่คลายลง 

 

มาตรการ ช่วยเหลือเกษตรากร ของ ธกส ในรอบใหม่ ปี 2021 นี้

 

1. มาตรการ ธกส สนับสนุนให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจ (สินเชื่อฟื้นฟู)  

มาตรการนี้ ทางธนาคาร ธกส มีวงเงินเตรียมไว้แล้วกว่า 5,000 ล้านบาท  เป็นวงเงินสำหรับ ปล่อยกู้ ให้กับ ผู้ประกอบการ ทั้ง ที่เป็น เกษตรกร ,บุคคล, หรือ ผู้ประกอบการ นิติบุคคล รวมถึง กลุ่มเกษตรกร วิสหากิจชุมชน,กองทุนหมู่บ้าน และ ชุมชนเมืองต่างๆ

  • เกษตรกร บุคคล
  • ผู้ประกอบการ (นิติบุคคล)
  • กลุ่มเกษตรกร
  • วิสาหกิจชุมชน
  • กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
  • สหกรณ์ภาคการเกษตร
  • สหกรณ์นอกภาคการเกษตรที่ประกอบธุรกิจพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม และบริการ

หลักเกณฑ์  ในการ  ปล่อยสินเชื่อ ฟื้นฟู

กรณีลูกค้าเดิม

ยังสามารถขอสินเชื่อ ฟื้นฟู ได้ ในอัตรา ร้อยละ 30 ของ วงเงินสินเชื่อธุรกิจ ที่มีอยู่เดิม ไม่เกิน 150 ล้านบาท โดยขอให้มีการ นับยอด วงเงินเดิม ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 

กรณีลูกค้าใหม่

เป็น บุคคล หรือ นิติบุคคล ที่ไม่เคยมี ประวัติ สินเชื่อ กับทางธนาคาร หรือ สถาบันการเงิน ทุกแห่ง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564  กู้ได้ สูงสุด รายละ 20 ล้านบาท อัตรา ดอกเบี้ย 2% ต่อปี ในช่วง 2 ปีแรก ปี ต่อๆไปคิด 4.875% หรือ 6.5% ตามประเภท ของลูกค้า

โดยรัฐบาลรับภาระจ่ายดอกเบี้ยแทนในช่วง 6 เดือนแรก กำหนดระยะเวลาชำระคืนภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ลูกค้าได้รับเงินกู้ หรือตามที่ ธปท. กำหนด โดยมีบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ค้ำประกันสินเชื่อตามมาตรการนี้

 


วิธีเช็ค เครดิตบูโร ว่าแบบไหนกู้ได้ แบบไหน กู้ไม่ผ่าน

"ลิ้นจี่แม่ใจ" สินค้า GI พะเยา หนึ่งปีมีให้บริโภคเดือนเดียว

ธกส กับมาตราการ พักชำระหนี้ ช่วย ลูกค้าจาก โควิด รอบใหม่ 2021

ธกส ปล่อยกู้ 50,000 ให้เกษตรกร ทำทุน ค้าขาย

 


วิกฤติไหน คุณก็รอด ถ้าอยู่ในธุรกิจที่ใช่ : วิกฤติ คือโอกาส

 สนใจ เปรียบเทียบ สมัครบัตรเครดิต  และ สินเชื่อส่วนบุคคล คลิก

 

 

2 มาตรการ ธกส รับโอนทรัพย์สิน เป็นหลักประกันเพื่อการชำระหนี้ (พักทรัพย์ พักหนี้)

ทางธนาคาร ธกส ได้ เตรียม วงเงินไว้ สำหรับมาตรการนี้ 5,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด 19   แต่จะเน้น เฉพาะ ผู้ประกอบการที่ยังพอมีศํกยภาพ และมีทรัพย์สิน เป็นหลักประกันเงินกู้ กับ ทาง ธกส  ก่อน วันที่ 1 มีนาคม 2564  

เพื่อ ช่วยรักษาโอกาส ไม่ให้ ถูกกดราคา และ ไม่ให้ถูก บังคับขายทรัพย์สิน Fire Sale และ ช่วยให้สามารถกลับมาสร้างงาน สร้างอาชีพ  สร้างรายได้ เมื่อสถานการณ์ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid19 ได้คลี่คลายลง แล้ว

 

ซึ่งในการตีโอนทรัพย์ชำระหนี้ ของ มาตรการ พักทรัพย์ พักหนี้ ของ ธกส

ให้สิทธิลูกค้าที่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน หรือบุคคลอื่นซึ่งผู้ประกอบธุรกิจและเจ้าของทรัพย์สินกำหนด สามารถเช่าทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันและซื้อคืนได้ภายตามระยะเวลาที่กำหนด ไม่เกิน 5 ปี

 

กรณีมีต้นเงินและดอกเบี้ยส่วนที่เหลือจากการตีโอนทรัพย์ชำระหนี้ จะดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ กำหนดอายุสัญญาไม่เกิน 20 ปี โดยคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปี ในช่วง 2 ปีแรก และปีต่อไป

 

กรณีเป็นผู้ประกอบการและสถาบัน คิดอัตราดอกเบี้ย MLR-1 (ปัจจุบัน MLR เท่ากับร้อยละ 4.875 ต่อปี)

 

และกรณีเป็นเกษตรกรและบุคคล คิดอัตราดอกเบี้ย MRR – 1 ต่อปี (ปัจจุบัน MRR เท่ากับร้อยละ 6.50 ต่อปี) นอกจากนี้ สามารถขอสนับสนุนสินเชื่อเพิ่มเติมตามมาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจ (สินเชื่อฟื้นฟู) ได้

 

ทั้งนี้ คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการต้องประกอบธุรกิจในประเทศไทย มีสถานะไม่เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loan : NPLs) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 และไม่เป็นบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (The Stock Exchange of Thailand : SET) เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันนี้ ถึง วันที่ 9 เมษายน 2566 ซึ่งลูกค้าที่มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือที่ Call Center 02 555 0555

Money Banner

พื้นที่ โฆษณา