สกุลเงินดิจิทัล CBDC ของธปท คืออะไร ต่างจาก E-Wallet อย่างไร

CBDC สกุลเงินดิจิทัล ของธปท คืออะไร ต่างจาก E-Wallet อย่างไร

รวม คำถาม คำตอบ ข้อสงสัย เกียวกับ สกุลเงินดิจิทัล ของไทย ว่าแตกต่างอะไรกับ E-Wallet หรือ กระเป๋าเงิน อิเล็กทรอนิคหรือไม่อย่างไร รวมไปถึง การใช้งานและ อื่นๆ

 

 

 Cryptocurrencies หรือ สกุลเงินดิจิทัล เป็นเงินหรือไม่ 

Cryptocurrencies หรือ คริปโตเคอร์เร็นซี่ ที่เราได้ยินชื่อกันบ่อยๆ เช่น Bitcoin , Ether และ Litecoin หรือ อื่นๆ ยังไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นเงิน ตามนิยาม ทางเศรษฐศาสตร์ เพราะ 

1. ยังไม่เป็นตัวกลางในการซื้อขายสินค้า ที่แพร่หลาย 

 ด้วยเหตุที่ว่า ตัวเทคโนโลยี ยังไม่สะดวกในการใช้ งาน เช่น จะซื้อกาแฟ 1 แก้ว ผ่าน Bitcoin อาจจะต้องใช้เวลา เป็น 10 นาที เมื่อเทียบกับการใช้งาน ผ่าน บัตรเครดิต หรือ บัตรเดบิต ที่ใช้ชำระเงินได้ทันที

 

 2. ราคาของ คริปโตเคอร์เร็นซี่ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  

และการแลกเงินสด เป็น Cryptocurrencies หรือ แลก Cryptocurrencies เป็น เงินสด  มีส่วนต่างราคา รับซื้อขายที่ สูงจึงไม่เป็นตัวเก็บมูลค่าที่ดี 

 

ในโลกการเงินดิจิทัล คริปโตเคอร์เรนซี (cryptocurrency) หรือที่รู้จักในชื่อว่าสกุลเงินดิจิทัล ได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายว่าจะเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนมูลค่าที่จะมาทดแทนการใช้เงินสดหรือแม้แต่เงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-money) ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบันได้หรือไม่ และด้วยศักยภาพของเทคโนโลยีการประมวลผลแบบกระจายศูนย์ที่อยู่เบื้องหลังอย่างบล็อกเชน (blockchain) ที่มีความปลอดภัยและสามารถสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ใช้งาน

ขณะที่เทคโนโลยีดังกล่าวช่วยลดบทบาทตัวกลางอย่างสถาบันการเงิน ที่มีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ธนาคารกลางทั่วโลกจึงหันมาศึกษาความเป็นไปได้ในการนำบล็อกเชนมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพของระบบการชำระเงิน และการออกใช้ Central Bank Digital Currency (CBDC) หรือสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง เพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนมูลค่าที่จะเป็นตัวแทนของเงินได้จริง ๆ

 

CBDC คืออะไร? 

Central Bank Digital Currency คือเงิน สกุลดิจิทัล ที่ออกโดยธนาคารกลางของประเทศนั้น ๆ พูดง่าย ๆ ในกรณีของไทย ก็เหมือนเงินบาทหรือธนบัตรที่ออกโดยแบงก์ชาติ เพียงแต่อยู่ในรูปแบบ “ดิจิทัล”

 

สกุลเงินดิจิทัล CBDC ต่างกับคริปโตเคอร์เรนซีอย่างไร

          CBDC ถือเป็น "สกุลเงิน" ในรูปแบบดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง ซึ่งมีคุณสมบัติในการเป็นสื่อกลางเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการ สามารถรักษามูลค่า และเป็นหน่วยวัดทางบัญชีได้ ซึ่งต่างจากคริปโตเคอร์เรนซีอย่าง Bitcoin Ether หรือ Ripple ที่ออกโดยภาคเอกชน และมีมูลค่าผันผวนจากการใช้เพื่อเก็งกำไร จึงไม่เหมาะสำหรับการนำมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการ

 

          CBDC สามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่

 

               1. สำหรับการทำธุรกรรมระหว่างสถาบันการเงิน (wholesale CBDC) 

               2. สำหรับธุรกรรมรายย่อยของภาคธุรกิจและประชาชน (retail CBDC)

 

 

CBDC ต่างจาก สกุลเงินดิจิทัล ที่ออกโดยภาคเอกชน เช่น คริปโทเคอร์เรนซี (cryptocurrency) และสเตเบิลคอยน์ (stable coin) อย่างไร? 

ความแตกต่างสำคัญคือ “ผู้ออกใช้” และ “คุณสมบัติความเป็นเงิน” โดย CBDC ออกโดย “ธนาคารกลาง” ของแต่ละประเทศ และเข้าข่ายนิยามความเป็นเงินอย่างครบถ้วน คือ 

 

1) เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน และสามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย 

2) เป็นที่เก็บรักษามูลค่า คือมีมูลค่ามั่นคง และ 

3) เป็นหน่วยวัดมูลค่าของทั้งสินค้าและบริการ 

 

ในทางตรงกันข้าม คริปโทเคอร์เรนซี เช่น บิทคอยน์ คือ สินทรัพย์ดิจิทัล ที่สร้างขึ้นด้วย “ทคโนโลยีบล็อกเชน” โดยมุ่งหวังเป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนแทนที่เงินสกุลปกติ แต่ไม่เข้าข่ายคุณสมบัติความเป็นเงินและไม่มีกฎหมายรองรับให้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ขณะที่สเตเบิลคอยน์ เช่น ลิบร้า คล้ายกับคริปโทเคอร์เรนซี คือ ออกโดยเทคโนโลยีบล็อกเชน และไม่มีกฎหมายรองรับให้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายเช่นกัน แต่มีเงินสกุลปกติ หลักทรัพย์ หรือทรัพย์สิน (เช่น ทองคำ) ค้ำประกันให้มูลค่ามีความไม่แน่นอนลดลงบ้าง

 

พร้อมเพย์ และ e-Money คืออะไร

พร้อมเพย์ คือ ระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์

โดยเป็นการโอนเงินที่เรา ๆ ท่าน ๆ ฝากไว้ระหว่างตัวกลางคือ “ธพ.” ธนาคารพาณิชย์ ด้วยกัน ขณะที่

 

e-Money คือ เงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ออกโดยตัวกลางคือ “หน่วยงานเอกชน”

 (ไม่ว่าจะเป็น ธพ. และผู้ขออนุญาตอื่น ๆ) เช่น บัตรเติมเงินทางด่วน ทรูมันนี่ ดังนั้น ภาระหนี้ที่เกิดขึ้นเวลาเราเอาเงินบาทไปฝากที่ ธนาคารพาณิชย์หรือซื้อ e-Money จะตกอยู่ที่ตัวกลาง ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ และ “บริษัทเอกชน” นั้น ๆ

กล่าวคือ เวลาเราต้องการถอนเงินฝากออกจากธนาคารพาณิชย์ ใช้บริการด้วย e-Money หรือแลกคืนจากบริษัทเอกชน ผู้รับผิดชอบที่จะต้องเอาเงินบาทมาคืนให้เราหรือให้บริการ คือ ธพ. และบริษัทเอกชน ในทางตรงกันข้าม CBDC ซึ่งเปรียบเสมือนเงินสดหรือธนบัตรแต่อยู่ในรูปแบบดิจิทัล ภาระหนี้จะไม่ได้อยู่ที่ตัวกลาง แต่อยู่ที่ธนาคารกลางโดยตรง ซึ่งถือว่าไม่มีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้เลย

 

 ธนาคารพาณิชย์ จะยังคงมีบทบาทอยู่หรือไม่? 

โมเดลในหลายประเทศ เช่น เงินหยวนดิจิทัลของจีน ไม่ได้เปลี่ยนแปลงระบบนิเวศการเงินเดิม โดย ธพ. จะยังคงมีความสำคัญอยู่ เพียงแต่บทบาทอาจจะเปลี่ยนแปลงไปบ้าง นั่นคือ การกระจาย CBDC จากธนาคารกลางไปยังประชาชนผ่าน ธพ. และไม่มีการให้ดอกเบี้ยจากการถือ CBDC (เหมือนเงินสดที่ไม่ได้ดอกเบี้ยในการถือ) จะยังทำให้มีเงินฝากใน ธพ. และถือ CBDC ในส่วนน้อย (แทนเงินสด)

 

เมื่อไหร่จะได้ใช้ สกุลเงินดิจิทัล CBDC ระดับรายย่อยในไทย? 

การจะนำ CBDC มาใช้ในระดับรายย่อย จำเป็นต้องใช้เวลาศึกษาและพิจารณาผลกระทบในมิติต่าง ๆ อย่างรอบคอบ อาทิ ข้อกฎหมาย เสถียรภาพของระบบการเงิน ความปลอดภัยในการใช้งาน และความพร้อมด้านเทคโนโลยีของผู้ใช้ เป็นต้น ดังนั้น การเดินหน้าศึกษาและระดมสมองร่วมกับภาคเอกชนไว้แต่เนิ่น ๆ เพื่อให้เข้าใจข้อดีและข้อจำกัดต่าง ๆ อย่างรอบด้าน จึงมีความสำคัญมาก... การจะนำ CBDC มาใช้จริง จึงไม่ได้อยู่ที่ “ความรวดเร็ว” ว่าต้องออกใช้นำหน้าประเทศอื่น ๆ แต่จุดสำคัญอยู่ที่ “ความพร้อม” มากกว่าครับ!

 

ภาครัฐ และ แบงก์ชาติ จะเห็นข้อมูลการใช้ CBDC ในชีวิตประจำวันของผู้ใช้ และ เรียกเก็บภาษี หรือไม่

 

การออกแบบ CBDC ของ แบงก์ชาติ คำนึงถึงความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน ขณะเดียวกันต้องมีกลไก ตรวจสอบ ธุรกรรมที่ผิดกฏหมายด้วย ทั้งนี้การใช้ CBDC ต้องปฏิบัติตาม กฏหมายว่าด้วยภาษี e-Payment เช่นเดียวกันกับการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ ประเภทอื่น 

 

CBDC ต้องมี Wallet หรือ e-Money หรือไม่แล้วใครเป็นผู้ดูแล 

ต้องมี Wallet ในการเก็บ CBDC โดยแบ่ง Wallet เป็น 2 รูปแบบ 

1. รูปแบบของ แอปพลิเคชั่นบน โทรศัพท์มือถือ  โดยธนาคาร หรือผู้ให้บริการทางการเงินที่ได้รับอนุญาติจาก แบงก์ชาติจะเป็นผู้ดูแล

 2. รูปแบบการ์ด  ซึ่งการ์ดนี้เจ้าของ จะต้องดูแล และรับผิดชอบเอง และรับผิดชอบเอง เสมือนกระเป๋าสตางค์ส่วนตัว 

 

หากไม่มีโทรศัพท์มือถือ จะสามารถใช้ CBDC ได้หรือไม่ จะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำมากขึ้นหรือไม่

แบงก์ชาติ ได้พัฒนา Wallet ในรูปแบบการ์ด เพื่อใช้ในการ เก็บ CBDC 

ประชาชนที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือจะสามารถใช้การ์ดในการเก็บ CBDC ได้ และสามารถทำธุรกรรม ต่างๆ อาทิเช่น การ ฝาก-ถอน-โอน ได้ ดังนั้นจึงไม่เกิดความเลื่อมล้ำอย่างที่ไรคนกังวล 

 

คนไทยที่ไม่มีบัญชี เงินฝาก ธนาคาร จะสามารถใช้ CBDC ได้อย่างไร 

 คนไทยที่ไม่มีบัญชี เงินฝาก ธนาคาร ก็สามารถเข้าถึง เงินสกุลดิจิทัล CBDC ได้ เพียงแค่ เปิด Wallet และ นำเงินสด มาแลกเป็น เงินสกุลดจิทัล หรือ CBDC กับทางธนาคาร หรือ ผู้ให้บริการทางการเงินที่ได้รับอนุญาติจากทาง ธปท   

หรือ สามารถรับ เงินสกุลดิจิทัล CBDC จากผู้อื่น (ผ่านการชำระค่าขายสินค้า ) มาใส่ไว้ใน Wallet  ก็จะสามารถ ใช้ เงินสกุลดิจิทัล CBDC ในการทำ ธุรกิจ โอน ฝาก และ ถอนได้แล้ว 

 

 มีการจำกัด จำนวน CBDC ในระบบหรือไม่  และมีการจ่ายดอกเบี้ย หรือไม่

CBDC เหมือนเป็น ธนบัตร ในรูป ดิจิทัล ที่มีมูลค่าคงที่ในรูปเงินบาท โดยการสร้าง CBDC นั้น ผู้ใช้ หรือประชาชนทั่วไปต้องนำเงินสด หรือ โอนเงินในบัญชีธนาคาร ที่มีอยู่มาแลกเป็น สกุลเงินดิจิทัล CBDC ในอัตราส่วน แบบ 1:1  

 

เช่น ต้องการ CBDC มูลค่า 100 บาท จะต้องนำเงินสด หรือโอนเงินจากบัญชีธนาคาร มาแลกกับ ผู้ให้บริการ CBDC จำนวน 100 บาท

ซึ่งการแลกเปลียน CBDC นั้น เป็นการนำเงินหมุนเวียน อยู่ในระบบที่มีสินทรัพย์ หนุนหลังมาแลกเปลียน จึงไม่ส่งผล ให้เกิดเงินเฟ้อจากการสร้าง CBDC เพราะไม่ได้เป็นการอัดฉีด เงินใหม่เข้าสู่ระบบ และเนื่องจาก CBDC มีคุณสมบัติคล้ายเงินสด จึงไม่มีการจ่ายดอกเบี้ย ในการถือ CBDC

 

การออก CBDC จะทำให้ ธนาคารล้มหรือไม่ 

การถือครอง CBDC ไม่มีการจ่ายดอกเบี้ย และมีการจำกัดวงเงินในการถือครองของแต่ละคน  ดังนั้น ประชาชน จะยังคงเลือกฝากเงินกับธนาคาร ทำให้ไม่เกิดการโยกย้ายเงินอย่างรวดเร็ว จึงไม่ส่งผลกระทบต่อฐานเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ มากนัก 


CBDC เป็นเพียงทางเลือก ในการถือเงิน ช่องทางหนึ่ง ที่สร้างความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้งาน นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัด ในการถือครอง CBDC ใน Wallet อีกด้วย ในขณะที่ ไม่มีข้อจำกัดดังกล่าว สำหรับการฝากเงิน

 

 สกุลเงินดิจิทัล CBDC ต่างจาก Promptpay อย่างไร 

Promptpay ต้องใช้เงินฝากของประชาชนที่อยู่กับ ธนาคารพาณิชย์ ขณะที่ CBDC เป็นเสมือน ธนบัตร ในรูปดิจิทัล ดังนันในแง่การใช้งาน จะไม่ต่างกัน คือเป็นการทำธุรกรรมออนไลน์ ผ่านโทรศัพท์ มือถือ แต่ประชาชนจะได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น ใช้จ่ายในอนาคตง่ายขึ้น จากการที่ เปิดโอกาสให้นักพัฒนาโปรแกรม ต่อยอดบน CBDC ได้

 

 หากมี CBDC แล้ว แบงก์ชาติ จะยังคงพิมพ์ ธนบัตรอยู่หรือไม่

CBDC จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกทางการเงิน ที่จะมาตอบโจทย์การใช้เงิน ของประชาชนในอนาคต โดยแบงก์ชาติจะยังคงมีการพิมพ์ ธนบัตรอยู่ แต่จะมีปริมาณที่ลดลง หรือไม่ขึ้นอยู่กับ ปริมาณความต้องการใช้ธนบัตรเป็นสำคัญ 

 

 สามารถนำ CBDC ไปลงทุน เหมือน คริปโต เช่น Bitcoin ได้หรือไม่

 

CBDC ที่ออกโดย แบงก์ชาติ มีลักษณะ คล้ายกับธนบัตร แต่อยู่ในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งกลไกการผลิต CBDC จะมีสินทรัพย์หนุนหลัง ทำให้มูลค่าไม่ผันผวน และมีวัตถุประสงค์หลักไว้รองรับการใช้จ่ายของประชาชน ที่มีแนวโน้มเปลียนไปทำธุรกรรมทางการเงิน ในรูปแบบ ออนไลน์มากขึ้น 

 

ดังนั้น CBDC จึงไม่ใช่ คริปโทเคอร์เรนซี่ อย่างเช่น Bitcoin หรือ Ether ที่มีมูลค่าผันผวน และไม่มีสินทรัพย์ หนุนหลังในการออก และมักถูกนำมาใช้ในการลงทุนหรือเก็งกำไร

 

นำ CBDC ไปใช้ใน Decentralized Finance (DeFi) ทำ Yield Farm ได้หรือไม่

 

CBDC เปรียบเสมือ เงินธนบัตรที่อยู่รูปแบบดิจิทัล เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน ปัจจุบันยังไม่มีนโยบายให้นำ CBDC ไปเชื่อมต่อกับ Defi 

 

 

 

สมัครบัตรเครดิตออนไลน์ ไม่ต้องยื่นเอกสาร


เครดิต จาก ธนาคารแห่งประเทศไทย - Bank of Thailand