ประกันภัยข้าวนาปี 2564 คืออะไร

ประกันภัยข้าวนาปี 2564 คืออะไร

คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) สรุปข้อมูล เกียวกับ การประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2564 ตอบคำถามคลายข้อสงสัย ดังนี้

 

 โครงการประกันภัยข้าวนาปี คุ้มครอง 46 ล้านไร่

ประกันภัยข้าวนาปี คืออะไร


คำตอบ 

เป็นการ ประกันภัย ที่ให้ความคุ้มครองข้าวที่เพาะปลูกในนาข้าว หากต้นข้าวได้รับความเสียหาย จากภัยธรรมชาติ 7 ภัย ได้


1. น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก

2.ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือ ฝนทิ้งช่วง

3. ลมพายุ หรือ พายุใต้ฝุ่น

4. ภัยอากาศหนาว หรือ ภัย น้ำค้างแข็ง

5. ลูกเห็บ

6. ไฟไหม้

7. ภัยจากช้างป่ารวมถึง ภัยจากศัตรูพืช หรือ โรคระบาด

 



พื้นที่สีเขียว สีเหลือง และ สีแดง คืออะไร


คำตอบ   

มีการแบ่ง พื้นที่เพาะปลูกข้าว ได้แบ่ง พื้นที่เสี่ยงภัย เป็นรายอำเภอ โดยแบ่งตามข้อมูล ว่าพื้นที่ใด มีความเสี่ยง ที่จะเกิดความเสียหาย จาก น้อยไปมาก ซี่งแบ่งเป็น  


1. พืนที่สีเขียว  : เสี่ยงภัยต่ำ

2.พื้นที่สีเหลือง : เสี่ยงภัยปานกลาง

3. พื้นที่สีแดง : เสี่ยงภัยสูง  

ทำอย่างไร ถึงจะได้รับความคุ้มครอง ประกันภัยข้าวนาปี 


คำตอบ 

รัฐบาล ช่วยจ่ายค่าเบี้ยประกันภัย เพื่อทำประกันภัยแบบพื้นฐานให้กับเกษตรกรชาวนาทุกคน ที่ปลูกข้าวนาปี แต่ว่าเกษตรกร ชาวนาที่ปลูกข้าวในพื้นที่สีเหลือ หรือ สีแดง (พ้นที่ตามที่ประกันภัยกำหนด)  จะต้องออกค่าเบี้ยประกันภัย ส่วนหนึ่ง ด้วย  


แต่ถ้าเกษตรกร ชาวนาท่านใด เป็นลูกค้าที่กู้เงิน จาก ธ.ก.ส เพื่อนำมาปลูกข้าว ไม่ต้องจ่ายเงิน ค่าเบี้ยประกันภัย เพราะ ธ.ก.ส.  จะช่วยจ่ายให้ ร่วมกับ ทางรัฐบาล และที่สำคัญ เกษตรกรชาวนา ที่ปลูกข้าวในพื้นที่สีเขียว จะได้รับ ประกันภัยแบบพื้นฐานฟรี ทุกคน 

 


Q จะรู้ได้อย่างไรว่า พื้นที่ ที่ เพาปลูกของตน อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยโซนไหน และ เมื่อรู้แล้วต้องทำอย่างไร


A คำตอบ 

 

สามารถตรวจสอบ โซนพื้นที่ ได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขา หรือ สายด่วน คปภ  1186 หรือ แอปพลิเคชั่น กูรูประกันข้าว 

 


1.  ถ้าปลูกข้าวในพื้นนที่ สีเขียว ได้รับประกันภัย ฟรี โดยรัฐบาล หรือ ธกส. เป็นผู้จ่ายเบี้ยประกันภัยให้
2. ถ้าปลูกข้าวในพื้นที่ สีเหลือง และ สีแดง  หากเกษตรกร ชาวนา ท่านใด กู้เงิน จาก ธกส  เพื่อนำมาปลูกข้าวจะได้รับ การประกันภัยฟรี ตามวงเงินที่ได้กู้  แต่เกษตรกรชาวนาท่านใด  ไม่ได้กู้เงิน หรือ กู้เงินน้อย แต่มีพื้นที่เพาะปลูกเยอะ ก็ต้องทำประกันภัยเอง โดยจ่ายเงินค่าเบี้ยประกันภัย บางส่วน รวมถึง คนที่ไม่ได้เป็น สมาชิก ธกส ก็จะต้องจ่ายเงินค่าเบี้ยประกันภัย บางส่วนเองด้วย
3. ถ้าเกษตรกร ชาวนา ท่านใด อยากได้เงินความคุ้มครอง เพิ่มขึ้นอีก ก็สามารถไปซื้อประกันภัยเพิ่มได้ แต่ต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยเองทั้งหมด

ความคุ้มครองและเบี้ยประกันภัย ของการประกันภัยข้าวนาปี เป็นอย่างไร


คำตอบ 

ความคุ้มครองพื้นฐาน ภัยธรรมชาติ 7 ภัย คุ้มครอง 1,260 บาท/ไร่ และภัยศัตรูพืช หรือ โรคระบาด คุ้มครอง 630 บาท/ไร่


1. เกษตรกรชาวนาที่กู้เงน ธกส และ เพาะปลูกทุกโซนพื้นที่  เบี้ยประกันภัย 96 บาท/ไร่  โดยรัฐบาล กับ ธกส จ่ายเบี้ยประกันภัยให้
2. เกษตรกรชาวนาที่เพาะปลูกใน พื้นที่สีเขียว ในส่วนของ ลูกค้า ธกส ที่ซื้อประกันภัยเพิ่มเติม และ เกษตรกรทั่วไป รัฐบาล จ่ายเบี้ยประกันภัยให้ทั้งหมด
3. เกษตรกรชาวนา ที่ไม่ได้รับ การอุดหนุนเบี้ยประกันภัย เต็มจำนวน ตาม ข้อ 1 และ ข้อ 2  ข้างต้น นั้น 

 

- เบี้ยประกันภัยพื้นที่สีเหลือง 210 บาท/ไร่ 

-เบี้ยประกันภัย โซนพื้นที่สีแดง  230 บาท/ไร่ 

 

แต่รัฐบาลช่วยจ่าย เบี้ยประกันภัย 55 บาท/ไร่ ส่วนที่เหลือ ชาวนา ต้องจ่ายเอง คือ 

 

 

-พื้นที่สีแดง 175 บาท/ไร่



ในกรณีที่ต้องการ ซื้อความคุ้มครองเพิ่ม จะได้รับ ความคุ้มครอง ส่วนที่ซื้อเพิ่ม 

 

- ภัยธรรมชาติ     เพิ่มความคุ้มครองอีก 240 บาท/ไร่

 - ภัยศัตรพืช หรือ โรคระบาด      เพิ่มความคุ้มครองอีก 120 บาท/ไร่

 

โดยทุกรายที่ซื้อประกันภัย ส่วนเพิ่มนี้ ต้องจ่าย เบี้ยประกันภัยเพิ่มเอง ทั้งหมด 

 

- ชาวนา พื้นที่สีเขียว เบี้ยประกันส่วนเพิ่ม 24 บาท/ไร่

- ชาวนา พื้นที่สีเหลือง เบี้ยประกันส่วนเพิ่ม 48 บาท/ไร่

- ชาวนา พื้นที่สีแดง เบี้ยประกันส่วนเพิ่ม 101 บาท/ไร่

 

 


TOP 4 ประกันรถยนต์ ยอดฮิต ราคาถูก ผ่อนได้




Q  ทำประกันภัยข้าวนาปี ได้ถึงเมื่อไร


คำตอบ  


ถ้าปลูกข้าวในพื้นที่สีเหลือง หรือ สีแดง ที่ไม่ได้รับ ประกันภัย ฟรี จะต้องรีบไปซื้อประกันภัย ก่อนวัน และ เวลาตามแต่ละพื้นที่กำหนด  วันสิ้นสุด รับประกันภัยไว้ โดยแบ่งเป็น 3 ช่วงเวลา ตามกลุ่มจังหวัดได้แก่


ระยะเวลาสิ้นสุด การรับทำประกันภัย ข้าวนาปี 

1. 31 พฤษภาคม 2564     จำนวน 48 จังหวัด ภาคกลาง ภาคเหนือ และ ภาคอีสาน
2. 30 มิถุนายน 2564  จำนวน 5 จังหวัด ประกอบด้วยจังหวัด ในภาค ตะวันตก ตาก,กาญจนบุรี,ราชบุรี,เพชรบุรี,ประจวบคีรีขันธ์
3. 31 ธันวาคม 2564   จำนวน 14 จังหวัด ภาคใต้ ตั้งแต่ ชุมพร ลงไป 

 




วันเริ่มต้น คุ้มครองของการประกันภัย ข้าวนาปี เริ่มต้นเมื่อไร 


1. ความคุ้มครองเริ่มต้นแล้วตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรี มีมติ ให้ความเห็นชอบ โครงการฯ ณ วันที่ 30 มีนาคม 2564 แต่สำหรับ คนที่ต้องการซื้อประกันภัยเอง จะเริ่มต้นวันที่ทำประกันภัย 
 ชาวนาที่ได้รับ ประกันภัยฟรี หรือ ทำประกันภัยเอง จะต้องทำาอะไรบ้าง


เมื่อเกษตรกรชาวนาเพาะปลูก (ในเขตโซนสีเขียว) แล้ว จะต้องไปขึ้นทะเบียนหรือปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร (ทบก) ของตัวเอง ให้เป็นปัจจุบัน ณ ที่ทำการเกษตรอำเภอทุกสาขา เพื่อเป็นข้อมูลยืนยันว่าได้ทำการ เพาะปลูกจริง

หากเกิดความเสียหายแล้วจะได้รับคามชดใช่ค่าสินไหม ทดแทน เมื่อไร และ อย่างไร

คำตอบ  


สมาคมประกันวินาศภัยไทย จะตรวจสอบ ข้อมูลที่ส่งผ่าน ระบบออนไลน์ ซี่งประกอบด้วย

1. พื้นที่มีการทำประกันภัย ไว้ตาม ข้อมูล จาก ธกส.  และปรากฏข้อมูล ในทะเบียนเกษตรกร ทบก  ของกรมส่งเสริมการเกษตร
2. พื้นที่เพาะปลูกได้รับความเสียหายจากภัย ที่คุ้มครอง และ พื้นที่ นั้น มีประกาศ เป็นเขตให้ความช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน
3. มีรายงาน ข้อมูล ความเสียหาย กษ 02 เพื่อการทำประกันภัย  ที่ส่งมาจาก กรมส่งเสริมการเกษตร สมาคม วินาศภัยไทย จะทำการโอนเงินค่าสินไหม ทดแทนเข้าบัญชี ธกส ของเกษตรกร ภายใน 15 วัน นับแต่ได้รับข้อมู, ครบถ้วน 

 

 

มีเหตุใดบ้างที่เกิดความเสียหาย แล้วไม่ได้รับ ค่าสินไหมทดแทน หรือคืนเบี้ยประกันภัย



คำตอบ

กรณีที่ไม่ได้รับ ค่าสินไหม ทดแทน มีหลายสาเหตุ แล้วแต่กรณี เช่น 


1. วันที่เกิดความเสียหาย อยู่ในช่วงระยะเวลารอคอย  (7 วันหลังจากวันที่ทำประกันภัย) หรือวันที่ คณะรัฐมนตรี มีมติ ให้ความเห็นชอบโครงการ 
2. ไม่ได้มีการทำประกันภัยในแปลงเพาะปลูก ที่เกิดความเสียหาย
3. ทำประกันภัยหลังจากวันที่เกิดความเสียหาย แล้ว ผู้เอาประกันภัยขอเอาประกันภัย เกินกว่าพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปี ที่แจ้งไว้ ในทะเบียนเกษตรกร ทบก
4. พื้นที่ที่เกิดความเสียหายไม่ได้มีการประกาศเป็นเขตให้ความช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน 
5. พื้่นที่เพาะปลูกตั้งอยู่ในเขตที่ที่รัฐกำหนดให้เป็นพื้นที่รับน้ำ พื้นที่กักเก็บน้ำ พื้นที่ทางน้ำไหลผ่าน หรือ พื้นที่ที่รัฐประกาศ ไม่ส่งเสริมการเพาะปลูก โดยการงดส่งน้ำ และ ผู้เอาประกันภัย มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือเยียวยาจากรัฐบาล 


จะทราบได้อย่างไรว่ามีการโอนเงินค่าสินไหม ทดแทนให้แล้วหรือยัง

คำตอบ

สามารถเข้าไปตรวจสอบสถานะการประกันภัย การจ่ายสินไหม ทดแทน ได้ง่ายๆ จากระบบออนไลน์ "มะลิ" แอปพลิเคชั่น ของสมาคมประกันวินาศภัยไทย สำหรับการประกันภัยข้าวนาปี  สามารถตรวจสอบได้ที่ Rice.tgia.org  โดยใช้เลขบัตรประจำตัวประชาชน หรือผ่านแอบพลิเคชั่น "กูรูประกันข้าว"


หากมีข้อสงสัย เรื่องประกันภัยข้าวนาปี สามารถติดต่อได้ที่ได้


- ธกส ทุกสาขา โทร 025550555

- สายด่วน คปภ. 1186

- สายด่วนสมาคมประกันวินาศภัยไทย    0614044422 และ 061395900

 

เรื่องอื่นๆที่คุณอาจจะสนใจ

 

ประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์​ ปี 64​ ทุ่มงบกว่า 300​ ลบ.​

จ่ายเงินประกันรายได้ข้าว ปี63/64 งวดแรก 16 พ.ย.นี้

สถานการณ์การส่งออกข้าวไทยปี 2019

 

 

Money Banner

พื้นที่ โฆษณา